กรุงโตเกียว
สลัม "ฟาเวล่า" บนลาดเขา
อาคารเกอร์คิน
โบสถ์เซนต์ปอล
การลำเลียงน้ำ
พื้นที่เกษตรกรรม
หุบเขายอร์กเชียร์
ลำดับชั้นของการตั้งถิ่นฐาน (มีข้อความประกอบ)
ลำดับชั้นของการตั้งถิ่นฐาน (ไม่มีข้อความประกอบ)
แบบจำลองของเบอร์เจสและฮอยต์ (มีข้อความประกอบ)
แบบจำลองของเบอร์เจสและฮอยต์ (ไม่มีข้อความประกอบ)
ทุกๆ วัน ประชากรนับแสนคนจากชนบทเดินทางมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองใหญ่
เราเรียกกระบวนการเช่นนี้ว่า การพัฒนาสู่ความเป็นเมือง
การพัฒนาสู่ความเป็นเมือง:การเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วของเมือง ทำให้เมืองขยายขนาดอย่างรวดเร็ว
ซึ่งทำให้วิถีชีวิตของคนในชนบทเปลี่ยนไป
วิถีชีวิตแบบชนบท
ในอดีต วิถีชีวิตของคนชนบทมักพึ่งพาอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานเช่น การทำฟาร์ม การทำป่าไม้ และการประมง
โดยปกติแล้ว การตั้งถิ่นฐานของชาวชนบทมักจะพบได้ตามริมเส้นทางสัญจร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นทางด้านการค้า และการขนส่งสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ
ซึ่งถือเป็นการตั้งถิ่นฐานแบบแนวเส้นตรง
การตั้งถิ่นฐานแบบแนวเส้นตรง
เมื่อเส้นตรงแต่ละเส้นมาบรรจบกันเป็นเส้นทางที่ตัดกัน ก็จะกลายเป็นการตั้งถิ่นฐานแบบชุมชนขึ้นมา
การตั้งถิ่นฐานแบบชุมชน
การเปลี่ยนแปลงของชนบท
ความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้วิถีชีวิตแบบชนบทเกิดการเปลี่ยนแปลง
เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนอุตสาหกรรมขนาดเล็กไม่สามารถแข่งขันได้
ฟาร์มบางแห่งต้องเปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่น และกลายมาเป็นสนามกอล์ฟหรือที่พักแรม และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า
ผู้คนในชนบทเริ่มว่างงานเพราะอุตสาหกรรมเริ่มใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์
คนรุ่นใหม่พากันทิ้งถิ่นฐานและเดินทางเข้าเมืองเพื่อชีวิตที่ดีกว่า ทั้งในด้านงาน ที่พักอาศัย ร้านค้า และสถานบันเทิง
และนี่ก็เป็นสาเหตุให้อัตราการเกิดและจำนวนประชากรผู้สูงอายุในชนบทลดลง
เมื่อมีประชากรในเมืองเพิ่มขึ้น เมืองจึงขยายตัวเข้าไปรุกล้ำพื้นที่ของคนในชนบท
การขยายตัวของเมือง
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การขยายตัวของเมือง
สำหรับนายทุนแล้ว พื้นที่ชนบทที่ติดเขตเมือง เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาให้เป็นบ้านจัดสรร ศูนย์การค้า หรือนิคมอุตสาหกรรม ...
Please log in to view and download the complete transcript.