เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท
ด้วยปัจจัยหลายด้าน คนในชนบทยังคงไม่ได้รับความเท่าเทียมกับคนในเมือง
ความไม่เท่าเทียมกันคือ การขาดปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพ
เรียกกันว่า ความเลื่อมล้ำทางสังคม
สหราชอาณาจักร
ในทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหราชอาณาจักร มีอัตราการจ้างงานในชนบทลดลง
เนื่องจากการใช้เครื่องจักรในการเกษตร และการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ
การลดลงของวัตถุดิบ และการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก ทำให้เหมืองหลายแห่งในชนบทต้องปิดตัวลงด้วยเช่นกัน
ในขณะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ก็มีการจ้างงานเฉพาะในฤดูกาลท่องเที่ยว
ที่อยู่อาศัยก็ถือเป็นปัญหาหนึ่ง
เมื่อชาวเมืองหันมาซื้อบ้านในชนบท เพื่อใช้พักผ่อนในวันหยุดหรือหลังเกษียณอายุ ทำให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้น จนคนในท้องถิ่นไม่สามารถซื้อได้
ข้อจำกัดดังกล่าว เป็นแรงกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวละทิ้งถิ่นฐาน เหลือแต่เพียงคนชราที่ยังคงอาศัยอยู่ในชนบท
การลดลงของจำนวนประชากรในชนบท หมายถึง การลดการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ด้วย เพราะทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างก็มุ่งให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่มีประชากรจำนวนมาก
ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม เร่งให้เกิดการลดลงของจำนวนประชากรในท้องถิ่น
ประเทศจีน
ความเลื่อมล้ำทางสังคม ถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศที่พัฒนาอย่างไม่มีความเสมอภาคดังเช่น ประเทศจีน
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจีนอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท
จีนมีการนำเข้าอาหารน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ด้วยประชากรที่มีจำนวนมาก จึงทำให้อุตสาหกรรมการเกษตรต้องตกอยู่ภายใต้ความกดดันเป็นอย่างมาก
การสร้างผลิตผลจำนวนมาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกที่ทำลายคุณภาพดิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อไปในอนาคต
อัตราที่สูงขึ้นในการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง ...
Please log in to view and download the complete transcript.