ปฏิกิริยาเคมีบางชนิด เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมาก
ในขณะที่บางปฏิกิริยา ใช้เวลานานหลายนาที หรือหลายชั่วโมง หรือหลายปี หรือแม้แต่หลายพันปี
ความเร็วในการเกิดปฏิกิริยานี้ เรียกว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยา
อัตราการเกิดปฏิกิริยา
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากในการผลิตสารเคมีทางอุตสาหกรรม เพราะมีผลต่อปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
เราสามารถตรวจสอบอัตราการเกิดปฏิกิริยา โดยวัดปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น หรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ถูกใช้ไปในช่วงเวลาที่กำหนด
นี่คือ ปฏิกิริยาของโลหะแมกนีเซียม กับกรดไฮโดรคลอริก ซึ่งได้ผลิตภัณฑ์เป็นก๊าซไฮโดรเจน
โลหะแมกนีเซียม + กรดไฮโดรคลอริก → แมกนีเซียมคลอไรด์ + ก๊าซไฮโดรเจน
ถ้าเราเก็บก๊าซที่เกิดขึ้นนี้ไว้ เราสามารถวัดปริมาตรของมันที่ช่วงเวลาต่างๆ
จะเห็นว่า ฟองของก๊าซไฮโดรเจนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในตอนเริ่มต้น แล้วค่อยๆ ลดช้าลง
เมื่อเขียนกราฟระหว่างปริมาตรของก๊าซที่เกิดขึ้นกับเวลา
จะเห็นความชันของเส้นกราฟ ที่บอกถึงอัตราการเกิดปฏิกิริยา
ในกรณีนี้ เส้นกราฟชันมากในช่วงต้นของปฏิกิริยา แล้วจึงค่อยๆ เข้าสู่ระดับคงที่ แสดงว่าเกิดปฏิกิริยาช้าลง
เมื่อขณะที่ปฏิกิริยาได้ดำเนินไป กรดไฮโดรคลอริก ก็จะถูกใช้ไปเรื่อยๆ ความเข้มข้นที่ต่ำลงนี่เอง ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง
แต่ความเข้มข้นไม่ใช่ปัจจัยเดียว ที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
อุณหภูมิ และความดัน ...
Please log in to view and download the complete transcript.