การปะทุของภูเขาไฟเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนถึงอานุภาพและการทำลายล้างที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา
แต่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์พื้นพิภพทำให้สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆ ได้
ณ ขณะนี้มีการเฝ้าระวังพฤติกรรมภายนอกของภูเขาไฟ รวมถึงระดับอุณหภูมิ และการปล่อยเถ้าภูเขาไฟ
ดร.ลาร์รี่ มาลินโคนิโค นักภูเขาไฟวิทยา – “ขณะที่ภูเขาไฟเริ่มร้อนขึ้นและหินหนืดเคลื่อนมาใกล้กับพื้นผิว ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไฮโดรคลอไรด์จะเพิ่มขึ้น และอุณหภูมิจะสูงขึ้น ทีนี้เราก็จะเริ่มเห็นก๊าซมากมายพุ่งออกมา”
การเปลี่ยนรูปของพื้นดิน
การเปลี่ยนรูปของพื้นดินอาจเกิดขึ้นได้จากการที่หินหนืดเคลื่อนตัวขึ้นมาทำให้พื้นดินโป่งเป็นเนิน
ภูเขาไฟเอตนา ซิซิลี
นักธรณีวิทยาศึกษายอดภูเขาเอตนาซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป โดยใช้ตัวรับสัญญาณ GPS ในการบันทึกการเปลี่ยนระดับของผิวดิน หากมีการเปลี่ยนระดับไปหลายเซนติเมตร
นั่นหมายความว่าการปะทุอาจจะเริ่มขึ้นในไม่ช้า
แต่สำหรับการคาดการณ์ในระยะยาว นักวิทยาศาสตร์เปลี่ยนไปใช้หลัก แผ่นดินไหววิทยา ซึ่งศึกษาเรื่องแผ่นดินไหว
ศาสตราจารย์บิลแมค ไกเออร์ นักแผ่นดินไหววิทยา – “แผ่นดินไหววิทยา คือการศึกษาเรื่องภูเขาไฟมีมาตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และนี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะว่าการปะทุของภูเขาไฟจะไม่เกิดขึ้น หากปราศจากการไหวสะเทือนและแผ่นดินไหว”
ขณะที่หินหนืดดันตัวขึ้นสู่ด้านบน เครื่องวัดแผ่นดินไหวก็จะบันทึกเสียงของหินที่กำลังแตกหัก
แผ่นดินไหววิทยา คือการศึกษาการสั่นสะเทือนในโลก
แต่วิธีนี้ก็ยังไม่มีความแม่นยำพอที่จะคาดการณ์เวลาในการเกิดการปะทุที่แน่นอน
แผ่นดินไหววิทยาสามารถถูกนำมาปรับใช้ในการวัดค่าความถี่ตามธรรมชาติ ของหินหนืดได้อีกด้วย
ขณะที่ภูเขาไฟใกล้จะเกิดการปะทุ หินหนืดสั่นจะสะเทือนบ่อยขึ้น ทำให้เกิดรูปแบบบนเครื่องวัดแผ่นดินไหวเรียกว่า เหตุการณ์ที่มีคาบการสั่นสะเทือนยาว
เหตุการณ์ที่มีคาบการสั่นสะเทือนยาว
ดร.เบอร์นาร์ด ชูเอ็ด สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา – “ภูเขาไฟกำลังขับขานบทเพลง ที่ผมหมายถึงจริงๆ แล้วคือ มันเหมือนกับเสียงร้องเจี๊ยกๆ
ของลิงด้วยคลื่นที่ทรงตัวซึ่งมาจากเหตุการณ์ที่มีคาบการสั่นสะเทือนยาว”
เหมือนจุกคอร์กในขวด เมื่อความดันเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนคลื่น ภูเขาไฟก็จะปะทุในที่สุด
ในปี ค.ศ.2000 ในการศึกษาเหตุการณ์ที่มีคาบการสั่นสะเทือนยาวทำให้ประชาชน จำนวนหลายหมื่นคนสามารถอพยพออกจากบริเวณใกล้ภูเขาไฟ พอบพาเคเทเพเทิล ในเม็กซิโกได้ หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการคาดการณ์ การปะทุของภูเขาไฟ
พอบพาเคเทเพเทิล วันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.2000 ประชาชน 30,000 คนปลอดภัย
มีความหวังว่า ความก้าวหน้าในการคาดการณ์การปะทุของภูเขาไฟนี้ จะช่วยให้ไม่มีคนบาดเจ็บล้มตายเมื่อเกิดการปะทุขึ้นในอนาคต
ก่อนที่ภูเขาไฟจะปะทุ มักจะมีสัญญาณเตือนภัยเกิดขึ้นก่อนเสมอ