70% ของโลก ถูกปกคลุมด้วยน้ำ
ซึ่งเป็นทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และมลพิษทางน้ำก็จัดเป็นปัญหาระดับโลก
เมื่อสารที่เป็นอันตรายไหลลงสู่แม่น้ำ ทะเลสาบ และทะเล คุณภาพของน้ำจะลดลง
ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต รวมทั้งสุขภาพของมนุษย์
สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ไม่สามารถอยู่รอดในน้ำที่ปนเปื้อนมลพิษได้ ดังนั้นเราสามารถระบุคุณภาพของแหล่งน้ำนั้นได้จากการสังเกตสัตว์หรือพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ
สาเหตุใหญ่ที่สุดของมลพิษทางน้ำเกิดจากมนุษย์
มลพิษจากการเกษตร
สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของมลพิษทางน้ำ
เกษตรกรฉีดพ่นพืชด้วยปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืช เพื่อเพิ่มผลผลิต
น้ำฝนชะล้างผิวดิน นำพาสารเคมีเหล่านี้สู่ทางน้ำธรรมชาติ ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดภาวะการขาดออกซิเจน
ภาวะการขาดออกซิเจน
ภาวะการขาดออกซิเจนเกิดขึ้นเมื่อธาตุอาหารส่วนเกิน เช่น ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสจากปุ๋ย เปลี่ยนแปลงสมดุลของระบบนิเวศทางน้ำ
แพลงก์ตอน เป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายพืชขนาดเล็ก
มันใช้ธาตุอาหารเหล่านี้ในการเจริญเติบโต และเพื่อการเพิ่มจำนวนของมันขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ สาหร่ายสะพรั่ง
สาหร่ายใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการเจริญเติบโต และหากมีสาหร่ายปริมาณหนาแน่นปกคลุมอยู่บนผิวน้ำ มันสามารถกั้นแสงอาทิตย์ได้ ซึ่งสามารถฆ่า หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของพืชอื่นๆ
เมื่อพืชเหล่านี้ตาย มันจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรีย ซึ่งใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ
ในที่สุดจะทำให้ น้ำบริเวณนั้นกลายเป็นเขตที่ไร้สิ่งมีชีวิต
สิ่งปฏิกูล
สิ่งปฏิกูลสามารถไหลลงน้ำ อีกทั้งยังเพิ่มระดับธาตุอาหาร และมีส่วนทำให้เกิดภาวะการขาดออกซิเจน
...Please log in to view and download the complete transcript.