มีดวงจันทร์บริวารเพียงดวงเดียวเท่านั้นในระบบสุริยะจักรวาล ซึ่งมีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น
นอกเหนือไปจากดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก ดวงจันทร์ดวงนี้ เป็นดวงจันทร์บริวารเพียงดวงเดียวที่เราคิดว่าสำคัญมากพอที่จะเดินทางไปเยือน มันคือดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ชื่อว่า ไททัน
ไททัน
ดวงจันทร์ไททันถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1980 เมื่อดาวเทียมโวเยจเจอร์ที่ 1 บินผ่านไททันในภารกิจการสำรวจระบบสุริยะจักรวาลทั้งระบบ
ดวงจันทร์นี้เป็นการค้นพบที่มหัศจรรย์ มันมีชั้นบรรยากาศ ที่คล้ายคลึงกับชั้นบรรยากาศของโลกเมื่อมากกว่า 4 พันล้านปีที่แล้ว เป็นชั้นบรรยากาศที่ประกอบด้วยก๊าซหลักๆ ไม่กี่ชนิด
ก๊าซหลักๆ ประกอบด้วย: ไนโตรเจน 98 % มีเทน 1.6%
ที่สำคัญคือก๊าซไนโตรเจนและมีเทนได้รวมตัวกัน เพื่อประกอบเป็นโมเลกุลที่สลับซับซ้อนบนดวงจันทร์ไททัน
กระบวนการเคมีภายในชั้นบรรยากาศของไททันสามารถจำลองได้ โดยการรวมก๊าซทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกันในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีการใช้ไฟฟ้าเพื่อจำลองการได้พลังงานจากดวงอาทิตย์
ไนโตรเจน มีเทน
โมเลกุลจะรวมตัวกันโดยใช้พลังงานนี้และสร้างพันธะ กลายเป็นสารประกอบที่สลับซับซ้อนมากกว่าผลรวมของแต่ละโมเลกุล
ศาสตราจารย์เจ ฮันเตอร์ เวท มหาวิทยาลัยมิชิแกน – “ไททันเป็นโรงงานอินทรีย์ที่ดีที่สุดในระบบสุริยะ
และมันสร้างโมเลกุลที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการประกอบขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิต"”
กระบวนการซึ่งเกิดขึ้นบนดวงจันทร์ไททันอาจจะสามารถ ช่วยอธิบายคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับการมีอยู่ของพวกเรา
ที่ว่าเราเปลี่ยนจากองค์ประกอบทางเคมีซึ่งไม่มีชีวิตมาเป็นโมเลกุล ที่สลับซับซ้อนมากพอที่จะสร้างตัวเองขึ้นใหม่ได้อย่างไร?
ประมาณ ...
Please log in to view and download the complete transcript.