โจเซฟ เพรสลี ปี ค.ศ.1774
เมื่อโจเซฟ เพรสลี ค้นพบออกซิเจนครั้งแรก ในปีค.ศ.1774 เขากลับไม่รู้เลยว่าได้ค้นพบมันแล้ว
เขาพลาดเพราะเชื่อแนวคิดที่ผิดพลาดในยุคนั้นที่บอกว่าสสารประกอบด้วยสารฟลอจิสตัน
แต่จากนั้นไม่นาน เพรสลีได้พบกับนักเคมีชาวฝรั่งเศส ผู้นำความสำคัญมาสู่การค้นพบของเขา และถือเป็นจุดเปลี่ยนของวิทยาการด้านเคมี
อองตวน ลาวัวซิเยร์ ปี ค.ศ.1778
อองตวน ลาวัวซิเยร ทำการทดลองด้วยกระบวนการที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง
เขามีห้องทดลองที่เพียบพร้อมที่สุดในยุโรป เขาวัดอย่างระมัดระวัง และแม่นยำอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดมวลของสารก่อนและหลังปฏิกิริยาเคมี
เขาหันมาสนใจการชั่งน้ำหนักสารหลายชนิดเช่น ดีบุก ก่อนและหลังจากให้ความร้อน
หากมีการปลดปล่อยฟลอจิสตันออกมาเมื่อทำการเผาสาร อย่างที่เข้าใจกันอยู่ น้ำหนักของดีบุกควรจะลดลง
แต่ ลาวัวซิเยร์ พบว่าน้ำหนักของดีบุกกลับเพิ่มขึ้นเมื่อให้ความร้อน
เขาเสนอว่า ดีบุกไม่ได้ปลดปล่อยฟลอจิสตันออกมา แต่ดูดซับก๊าซเข้าไป
หลังจากได้ฟังผลการทดลองของเพรสลีเรื่องปรอทออกไซด์ ลาวัวซิเยร์จึงทดลองซ้ำอีกครั้ง แต่ในทางตรงกันข้าม
เขาให้ความร้อนแก่ปรอทเหลวจนเกิดเป็น ปรอทออกไซด์
เขาสังเกตว่าปริมาณก๊าซที่เหลืออยู่ในภาชนะปิดนี้ลดลง มันถูกปรอทดูดซับไป
เขาจึงให้ความร้อนกับปรอทออกไซด์บ้าง และพบว่าปริมาณก๊าซที่ถูกปล่อยออกมา เท่ากับปริมาณก๊าซที่ถูกดูดซับไปนั่นเอง
เขาสรุปว่าการเผาไหม้นี้ ...
Please log in to view and download the complete transcript.