อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน
รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา
ในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน นกตัวน้อยกำลังวุ่นอยู่กับการเตรียมการสำหรับฤดูหนาวที่ใกล้เข้ามา
นกหัวขวานพันธุ์คลาร์กนัทแครกเกอร์จำเป็นต้องใช้ความจำที่ดีเลิศของมันเพื่อสะสมอาหาร และเล่นเกมแห่งความน่าจะเป็นเพื่อความอยู่รอด
สะสมอาหาร
เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วงแต่ละครั้ง พวกมันต้องสะสมอาหารให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูหนาวอันโหดร้าย
มันเก็บเมล็ดต้นสนไว้ใต้ลิ้นมากถึง 150 เมล็ดต่อครั้ง
จากนั้น จึงบินข้ามอุทยาน และฝังเมล็ดถั่วไว้ใต้ดินเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10 เมล็ด
ในแต่ละปี นกหนึ่งตัวสามารถกระจายเมล็ดสนได้มากถึง 30,000 เมล็ด ไปทั่วพื้นที่ 160 ตารางกิโลเมตร
ฤดูหนาว
เมื่อฤดูหนาวมาเยือน เจ้านกหัวขวานต้องออกหาอาหารที่มันได้เก็บไว้ใต้หิมะ
เพื่อความอยู่รอด มันเลยฝังถั่วไว้ 3 เท่า มากกว่าที่มันจะต้องการจริง
ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการเผื่อหัวขโมยจำพวกหนู ที่อาจมากินอาหารของมัน แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพราะความจำของมันไม่ได้แม่นยำเสมอไป
นกหัวขวานพันธุ์คลาร์กนัทแครกเกอร์สามารถหาอาหารที่มันเก็บไว้ใต้แผ่นหิมะได้ราว 70%
ซึ่งมากถึง 21,000 เมล็ดในตลอดฤดูหนาว
อีก 30% ที่เหลือหรือ 9,000 เมล็ด จะไม่มีวันขุดเจอ
แต่เมล็ดสนที่เหลือเหล่านี้ ยังมีความสำคัญอย่างสุดซึ้งต่อเผ่าพันธุ์ของนกหัวขวานพันธุ์คลาร์กนัทแครกเกอร์
เมล็ดสนยังคงอยู่ใต้พื้นดิน และเติบโตขึ้นมาเป็นสนต้นใหม่
ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งอาหาร สำหรับนกรุ่นต่อๆ ไป