ในยุคสมัยใหม่ ตัวเลขล้วนมีความสำคัญ
ดังนั้น การที่คนบางกลุ่มใช้ชีวิตอยู่โดยไม่มีตัวเลขจึงเป็นเรื่องน่าพิศวง
ต้นกำเนิดของตัวเลข
มนุษย์เริ่มนับตั้งแต่หลายพันปีก่อน การค้นพบกระดูกเก่าแก่กว่าสองหมื่นปีเป็นหลักฐานของเรื่องนี้
กระดูกอีชังโก
ราว 19,000 ปีก่อนคริสตกาล
กระดูกอีชังโกซึ่งพบในคองโกในปี ค.ศ.1960 เป็นวัตถุทางคณิตศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่ง
มันเป็นชิ้นกระดูกเล็กๆ ของลิงบาบูนที่มีรอยบาก
รอยบากพวกนี้ถูกจัดเรียงเป็นกลุ่มๆ ทำให้คิดได้ว่าแต่ละรอยใช้แทนจำนวน ซึ่งทั้งหมดก็คือระบบการนับนั่นเอง
ดังนั้น มันพิสูจน์ว่ามนุษย์ได้เริ่มใช้ระบบตัวเลขมาหลายพันปี
ชีวิตที่ไร้ตัวเลข?
ทุกหนแห่งในโลกทุกวันนี้ ตัวเลขเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของชีวิต ตั้งแต่การนับเงินจนถึงการสื่อสารโดยคอมพิวเตอร์
แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีสังคมหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ตัวเลข
ชาววาร์ลพีรี คือ คนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในตอนกลางของประเทศออสเตรเลีย ที่มีชื่อเสียงด้วยเหตุผลที่ประหลาด
ลีโอ แจมปิจินปา เวย์น ชนเผ่าวาล์พีรี ออสเตรเลียกลาง– “เราไม่ใช้ตัวเลขในภาษาของเรา เรามีคำว่า หนี่ง และก็มีแค่นั้นล่ะ”
หากจะอธิบายจำนวนที่มากกว่าหนึ่งชาววาร์ลพีรีก็จะใช้เพียงคำว่า ‘หลาย’
“สิ่งที่คุณทำในโลกของคุณ เราทำไม่เหมือนกันที่นี่ ลองดูชายสูงวัยคนนี้ดู นาย จาปาลจาร์รี ไม่ได้เติบโตมากับตัวเลขเลยซักนิด”
“สวัสดีจาปาลจาร์รี คุณแต่งงานมากี่ครั้งแล้ว?”
“หนึ่ง”
“คุณมีหลานกี่คน?”
“หลาย”
“บาจัน..ปาร์จัน…”
จาปาลจาร์รี พูดถึงหลานของเขาโดยใช้ชื่อ แทนการใช้ตัวเลข.
“…จามาไร… จันกัน…”
ถึงแม้เขาระบุแต่ละคนด้วยเลขหนึ่ง แต่เขาก็ไม่พูดว่าเขามีหลานสี่คน
“…หลายคน”
ระบบการนับของชาววาร์ลพีรีดูโบราณในสายตาของเรา แต่ระบบนี้ก็ใช้การได้สำหรับพวกเขา
ระบบตัวเลขของเรานั้นซับซ้อนขึ้นมาก
ในทุกๆ วันเราใช้เลขฐานสิบ
เลขเศษส่วน
เลขติดลบ
หรือแม้แต่เลขศูนย์
ดังนั้น เราจะดำเนินชีวิตในโลกที่ไม่มีตัวเลขได้หรือไม่?