“มีกล่องสีเขียวกี่กล่อง มีกล่องสีเขียวกี่กล่อง?”
“สี่”
“เด็กดี เก่งมากๆ”
นี่คืออเล็กซ์ นกแก้วแอฟริกันสีเทา ที่เพิ่งจะได้รับการฝึกนับเลขหนึ่งถึงหก
หรือนี่แปลว่า มนุษย์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่สามารถคิดเลขได้ ใช่หรือไม่?
เพราะว่าสัตว์ประเภทอื่นไม่สามารถสื่อสารกับเราได้โดยตรงเหมือนเจ้านกแก้วอเล็กซ์ เราจึงต้องใช้วิธีการอื่นๆ เพื่อพิสูจน์ความสามารถทางคณิตศาสตร์ของพวกมัน
ศาสตราจารย์มาร์ค เฮาส์เซอร์ เอาชนะปัญหานี้ โดยใช้ช่วงเวลาความสนใจของลิง
ภายใต้ภาวะปรกติ ลิงพันธุ์ รีซัส มาคากดูเหมือนจะมีช่วงเวลาของความสนใจที่สั้น
ในการสาธิตครั้งนี้ ลิงจะได้ดูมะเขือม่วงสองลูกที่กำลังถูกบรรจุลงไปในกล่อง
โดยแอบนำมะเขือลูกหนึ่งออกไป
เมื่อเปิดกล่องออกมา ปรากฎว่าลิงให้ความสนใจ เพราะไม่ได้เป็นอย่างที่พวกมันคาดคิดไว้
ศาสตราจารย์มาร์ค เฮาส์เซอร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา –“การทดลองเกี่ยวกับการนับด้วยลิง เช่น ลิง พันธุ์ รีซัสนี้ บอกเราว่า ถึงแม้จะไม่มีภาษาในการสื่อสารกัน พวกมันมีความสามารถทางคณิตศาสตร์แบบง่ายๆ หรือพูดอีกอย่างก็คือ พวกมันสามารถคำนวณได้อย่างง่าย เช่น หนึ่ง บวก หนึ่ง ได้ สอง หรือ สอง ลบ หนึ่ง ได้ หนึ่ง และดูเหมือนจะสามารถเข้าใจหลักของจำนวน อย่างเช่น มะเขือหนึ่งผล มะเขือผลที่สอง และมันสามารถจัดการกับกับวัตถุสองชิ้นนี้อย่างไร”
เด็กทารกตั้งแต่แรกเกิด ก็มีความสามารถในการคำนวณง่ายๆ นี้
เราได้ทำการทดลองแบบเดียวกันกับเด็กวัยหนึ่งขวบผลลัพท์ที่ได้ก็เหมือนกัน
เราให้เด็กคนนี้ดูของเล่นสองชิ้นถูกใส่ลงไปในกล่อง
และชิ้นที่สามถูกแอบใส่เข้าไป
เมื่อเปิดกล่องออกมา เด็กแสดงถึงความสนใจนานมากกว่า ในกรณีที่กล่องมีของเล่นตามจำนวนที่คิดไว้
“เราทำการทดลองทั้งกับลิงและเด็กทารกแบบคู่ขนาน การค้นพบที่น่าสนใจมากก็คือ เด็กทารกวัยหนึ่งขวบและลิง พันธุ์รีซัส ที่โตเต็มวัย มีความสามารถทางคณิตศาสตร์แบบง่ายๆ เท่ากัน”
การทดลองในลักษณะนี้เผยให้เห็นว่า สัตว์ทุกประเภท รวมทั้งมนุษย์ มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวน
นี่เป็นสิ่งพื้นฐานต่อการอยู่รอด ที่ช่วยให้พวกมันตัดสินได้ว่าที่ใดมีอาหารมากที่สุด
จนถึงปัจจุบัน มนุษย์ก็ยังคงเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวที่เชี่ยวชาญทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน
ทิ้งห่างสัตว์อย่างเจ้านกแก้วอเล็กซ์
“มีขนแกะสีเหลืองกี่ก้อน?”
“สาม”
“ไม่ถูก ลองใหม่”
“สอง”
“สีเหลืองสองก้อน เก่งมาก...”