การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับวัยรุ่น เนื่องจากร่างกายเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ วัยรุ่นจึงต้องการเวลาในการนอนมากกว่าเด็กและผู้ใหญ่ แต่พวกเขากลับใช้เวลานอนน้อยกว่าคนวัยอื่น
เป็นเพราะในช่วงการย่างเข้าสู่วัยรุ่น แบบแผนการนอนของพวกเขาจะสับสนวุ่นวายเป็นอย่างมาก
วัยรุ่นหลายคนสามารถเล่นคอมพิวเตอร์จนดึกดื่น แต่กลับไม่มีแรงลุกออกจากเตียง เพื่อไปโรงเรียนให้ทัน
แต่นี่อาจมีสาเหตุที่มากไปกว่าแค่ความเกียจคร้าน และการทำตัวเหลวไหล
อย่างน้อยที่สุด ก็อาจจะโทษฮอร์โมนในร่างกายว่าเป็นสาเหตุหนึ่งได้
เราทุกคนมีนาฬิกาชีวิตในร่างกายที่คอยควบคุมการทำงานของร่างกายเราตลอด 24 ชั่วโมง
เวลากลางคืน อัตราการเต้นหัวใจจะช้าลง ความดันโลหิตลดต่ำลง และหยุดการขับปัสสาวะ
แต่เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ร่างกายจะเริ่มตื่นตัว
วงจรการหมุนของนาฬิกาชีวิตนี้เรียกว่า จังหวะรอบวัน ซึ่งถูกควบคุมโดยฮอร์โมน ที่เรียกว่า เมลาโทนิน
จังหวะรอบวัน
เมลาโทนิน
การสร้างเมลาโทนิน ขึ้นอยู่กับระดับของความมืด เมลาโทนิน ทำให้เกิดอาการง่วงนอน ลดอุณหภูมิของร่างกาย และกำหนดวงจรของการหลับและการตื่น
ร่างกายของผู้ใหญ่ส่วนมากจะเริ่มผลิตเมลาโทนินในช่วงเวลาประมาณ 22 นาฬิกา
แต่ในวัยรุ่น จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการทดสอบการนอนหลับ นักวิจัยพบว่าวัยรุ่นผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินช้ากว่าผู้ใหญ่ ซึ่งอยู่ที่เวลาประมาณ 1 นาฬิกาของเช้าวันใหม่
เราเข้าใจกันว่าฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในช่วงย่างเข้าสู่วัยรุ่น ทำให้การหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินถดถอยลง
ดังนั้น ในช่วงเข้าสู่วัยรุ่นจังหวะรอบวันของร่างกายจะถูกตั้งค่าใหม่ เพราะเด็กวัยรุ่นมักถูกร่างกายของตัวเองปลุกให้ตื่นอยู่ตลอด
...Please log in to view and download the complete transcript.