ไดโนเสาร์ได้สูญพันธุ์ไปในปลายยุคครีเทเชียส เมื่อ 65 ล้านปีก่อน
ยุคครีเทเชียส: 144 – 65 ล้านปีก่อน
สาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่นี้ยังคงเป็นประเด็นปริศนาที่ถกเถียงกันมากที่สุดในหมู่ นักบรรพชีวินวิทยา
นักวิทยาศาสตร์เองได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทฤษฎีหายนะ ที่เชื่อว่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์เนื่องจากหายนะภัยใหญ่เพียงครั้งเดียว
ผู้เชื่อในทฤษฎีหายนะ: มีเหตุการณ์หายนะครั้งเดียว
และกลุ่มที่เชื่อว่าการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เป็นกระบวนการที่ค่อยๆ เกิดขึ้น
ผู้เชื่อในทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ:การสูญพันธุ์ค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
แก่นของทฤษฎีหายนะคือ อุกกาบาตขนาดยักษ์พุ่งชนโลก
เราพบชั้นอิริเดียมซึ่งเป็นโลหะหนักแต่เปราะบางอยู่ในเปลือกโลกจากยุคครีเทเชียส
แม้ว่าอิริเดียมพบได้น้อยบนพื้นโลก แต่มันถูกพบได้มากในหินอุกกาบาต จึงเป็นไปได้ว่ามีหินอุกกาบาตหรือดาวหางขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางหลายไมล์พุ่งชนโลก
เชื่อกันว่าเมื่อหินอุกกาบาตพุ่งชนโลกก่อให้เกิดฝุ่นปริมาณมหาศาลบดบังแสงอาทิตย์ และทำให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่ ทั้งสองสิ่งนี้ทำให้เกิดยุคน้ำแข็ง และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งอ้างหลักฐานฟอสซิลที่บ่งบอกว่าไดโนเสาร์เริ่มลดจำนวนลงตั้งแต่ก่อนหน้านั้น
ยุคครีเทเชียสเป็นช่วงเวลาที่มีภูเขาไฟระเบิดเพิ่มขึ้น
ในระยะเวลาหลายล้านปี การระเบิดของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดฝุ่นหนาพอที่จะบดบังแสงอาทิตย์ได้ และมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากพอที่จะทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก
แหล่งอาศัยของไดโนเสาร์น่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากเนื่องจากระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิลดลง พืชและสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ไป
ไดโนเสาร์กินพืชเริ่มสูญพันธุ์ เมื่อพืชพันธุ์เกิดการเปลี่ยนแปลง ต่อมาไดโนเสาร์กินเนื้อที่ล่าไดโนเสาร์กินพืชเป็นอาหารก็เริ่มสูญพันธุ์ตามไปด้วย
จากหลักฐานนี้ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์
ยังไม่มีข้อสรุปว่าการพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่เป็นสาเหตุหลักหรือเป็นเพียงฟางเส้นสุดท้ายของการสูญพันธุ์
แต่ไม่ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์เพราะสาเหตุใดก็ตาม สิ่งมีชีวิตสปีชีส์อื่นๆ บนโลกอีกประมาณ ...
Please log in to view and download the complete transcript.