พื้นผิวโลกประกอบด้วยหินปูนประมาณ 10%
ที่ราบนูลลาร์บอร์ ออสเตรเลีย
หินปูนทำให้เกิดภูมิประเทศและลักษณะที่หลากหลาย:จากพื้นที่กว้างใหญ่ ที่ราบสูงแห้งแล้ง
บอร์เนียว
ไปจนถึงยอดภูเขาแหลมคม
หินปูนเป็นหินตะกอนที่เกิดในน้ำลึกเป็นเวลาหลายล้านปี
หินปูน:หินตะกอนเกิดใต้น้ำเป็นเวลาหลายล้านปี มีปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตอย่างน้อย 80%
แต่ถึงแม้มันจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล น้ำก็ยังคงมีอิทธิพลที่รุนแรงต่อหินชนิดนี้
ลักษณะพื้นผิว
หินปูนเป็นหินที่น้ำซึมผ่านได้ สามารถละลายในน้ำได้ และทำปฏิกิริยาต่อกรด
น้ำฝนที่เป็นกรดอย่างอ่อนก็ละลายหินปูนได้เมื่อเวลาผ่านไป
การผุกร่อนโดยน้ำและการผุพังอยู่กับที่ ทำให้หินปูนมีรูปร่างลักษณะโดดเด่น
บางครั้งเรียกว่า ภูมิประเทศแบบคาสต์
ภูมิประเทศแบบคาสต์
ยอร์กเชอร์ สหราชอาณาจักร
มันสามารถเกิดเป็นพื้นที่ของหินที่มีลักษณะเป็นแท่ง ที่แยกจากกันด้วยรอยแตกในแนวตั้ง ที่เรียกว่า แผ่นหินปูน
หลุมยุบสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อน้ำไหลผ่านหินแข็งจนไปถึงบริเวณที่เป็นหินปูน
เนื่องจากหินปูนมีความพรุนมากกว่าและถูกกัดเซาะได้ง่ายกว่า น้ำจึงหายไปในใต้ดิน
จุดอ่อนของหินปูนที่มีต่อน้ำ ยังทำให้เกิดหุบเขาที่แคบ
โกรกธารที่มีด้านข้างสูงชันเกิดจากธารน้ำแข็งที่ละลาย และมีการเปลี่ยนรูปร่าง อย่างต่อเนื่องโดยการกัดเซาะของแม่น้ำ
ลักษณะใต้ดิน
พื้นที่ที่มีหินปูนมักจะมีลำธารใต้ดิน
หลายๆ ที่ยังคงมีการกัดกร่อนหินปูนด้านบน แต่ลำธารบางแห่งก็ไหลไปถึงหินด้านล่างที่มีความคงทนและน้ำซึมผ่านไม่ได้
เมื่อน้ำไหลผ่านหินปูน มันจะผสมเข้ากับแคลเซียมคาร์บอนเนตจากหิน
...Please log in to view and download the complete transcript.