ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์อยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้น
น้ำมันชนิดนี้สกัดจากน้ำมันดิบโดยตรง ซึ่งจะให้พลังงานที่จำเป็นในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ ผ่านกระบวนการเผาไหม้
แต่เครื่องยนต์ในยุคแรกๆ มักจะมีการจุดระเบิดของตัวเครื่องไม่ค่อยราบรื่น ทำให้รถยนต์แล่นติดๆ ขัดๆ
ในปีค.ศ.1921 วิศวกร ชื่อ โทมัส มิดกลี จูเนียร์ ได้บุกเบิกการพัฒนาด้านปิโตรเคมี
โทมัส มิดกลี จูเนียร์ วิศวกร
เขาทำการทดลองโดยใช้สารประกอบจำนวนมาก และพบว่าเมื่อเติมสารประกอบตะกั่ว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ TEL ลงในน้ำมันจะทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
TEL = เตตระเอทิลเลด
น้ำมันผสมสารตะกั่วถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1970 ทุกๆ ปี สหรัฐอเมริกาจะเติมสารตะกั่วลงในน้ำมันเป็นจำนวนกว่า 200,000 ตัน
แต่ในช่วงทศวรรษต่อมา มีการพิจารณาถึงผลกระทบของสารตะกั่วต่อสุขภาพอย่างจริงจัง
ในปัจจุบัน เราทราบดีว่าสารตะกั่วเป็นมลพิษ และมีอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงขัดขวางกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง การได้รับสารตะกั่วในระยะยาว ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก
จนกระทั่งในปีค.ศ.1983 จากการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดในเรื่องผลกระทบของสารตะกั่ว จึงได้เลิกใช้น้ำมันผสมสารตะกั่วกัน ทำให้ปริมาณพิษของสารตะกั่วในอากาศลดลงอย่างมาก
ทุกวันนี้ เกือบทุกประเทศ ได้ห้ามยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการสัญจรใช้น้ำมันผสมสารตะกั่ว
การประกาศห้ามใช้สารตะกั่วในเชื้อเพลิง
สหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ.1995
สหราชอาณาจักร ปี ค.ศ.2000
แอฟริกา ปี ค.ศ.2006
แต่ความพยายามของ มิดกลี ก็ไม่สูญเปล่า
นักวิทยาศาสตร์ ได้ใช้ผลงานวิจัยของเขา มาต่อยอดในการพัฒนาน้ำมันไร้สารตะกั่ว โดยผสมกับสารประกอบชนิดอื่นๆ ที่ปลอดภัยกว่า
ประกอบกับมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เช่น เครื่องฟอกอากาศ ซึ่งช่วยลดปริมาณสารพิษที่ปะปนอยู่ในก๊าซ ก่อนปล่อยออกมาทางท่อไอเสีย แม้ว่าจะไม่มีการปล่อยสารตะกั่วออกมาอีกแล้วก็ตาม
นักเคมี วิศวกร นักชีววิทยา และนักฟิสิกส์ ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาด อย่างต่อเนื่อง
เพื่อเราจะได้สัมผัสประสบการณ์การเดินทางโดยรถยนต์อย่างเพลิดเพลิน ในขณะเดียวกันก็สามารถลดผลกระทบของเชื้อเพลิงที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเรา