• ทำไมจึงเลือกทวิก
  • เกี่ยวกับเรา
    • เกี่ยวกับบริษัทของเรา
    • รางวัล
    • เกี่ยวกับทีมของเรา
    • วิธีการสร้างภาพยนตร์ของเรา
  • ติดต่อทวิก
  • Log in
  • Thai
    • Thai
    • English
Twig World Limited
  • ทัวร์ชมทวิก
  • ทดลองใช้ฟรี
  • สมัครสมาชิก
Aksorn logo

คิททิงเจอร์: มนุษย์คนแรกในอวกาศ

To see more Twig films and learning materials

Start a free trial

Log in to your account

  1. Mindmap
  2. ฟิสิกส์
  3. จักรวาล
  4. การสำรวจอวกาศ
Learning materials
  • Film info
  • Transcript
  • Related films
  • Related glossary films
  • Embed

Film info

Film summary

ก่อนหน้า ยูริ กาการิน โคจรรอบโลก มีคนๆ หนึ่งที่ได้เดินทางอย่างไม่ธรรมดาโดยเลยชั้นบรรยากาศโลกออกไป เขาสามารถอ้างว่าเป็นมนุษย์คนแรกที่ไปอวกาศได้หรือไม่?

Key facts

  • โครงการเอ๊กเซลซิเออร์ 3 คือโครงการทดสอบการกระโดดจากระดับความสูงมหาศาลของกองทัพอากาศสหรัฐ
  • นาวาอากาศเอกโจ คิททิงเจอร์กลายเป็นมนุษย์คนแรกที่เข้าสู่อวกาศจากการเข้าร่วมโครงการนี้
  • คิททิงเจอร์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ด้วยบอลลูนฮีเลียม เขาขึ้นสู่ความสูงมากกว่า 30 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1960
  • คิททิงเจอร์ซึ่งมีเพียงชุดควบคุมความดันปกป้องร่างกายกระโดดจากส่วนบรรทุกผู้โดยสารของบอลลูนที่ความสูง 31 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก และตกอย่างอิสระเป็นเวลาเกือบ 5 นาทีด้วยอัตราเร็วสูงสุดที่เกือบ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

Transcript

ในปี ค.ศ.1961 มนุษย์คนแรกที่โคจรรอบโลกเป็นนักบินอวกาศสหภาพโซเวียตชื่อ ยูริ กาการิน
แต่ในทางเทคนิคแล้ว เขาไม่ได้เป็นคนแรกที่เข้าสู่อวกาศ

เพียง 8 เดือนก่อนหน้านั้น ทหารนายหนึ่งแห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ โจ คิททิงเจอร์ ได้เริ่มก้าวแรกของการขึ้นสู่อวกาศ โดยการเดินทางที่เสี่ยงภยันตรายผ่านออกจากบรรยากาศชั้นในของโลก สู่ความสูง 31 กิโลเมตร

วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1960

เขาไม่ได้เดินทางด้วยยานอวกาศ แต่ด้วยบอลลูนฮีเลียม!

นาวาอากาศเอกโจ คิททิงเจอร์ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา –“นี่เป็นครั้งแรกที่มีคนขึ้นไปถึงความสูงขนาดนั้น มันเป็นครั้งแรกที่มนุษย์ได้ไปอยู่ในสภาวะของอวกาศอย่างแท้จริง ทำให้ตอนนั้นผมรู้สึกเป็นห่วง เพราะไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง”

คิททิงเจอร์ เป็นผู้ร่วมในโครงการ เอ๊กเซลซิเออร์ สาม เพื่อทดสอบการกระโดดจากระดับความสูงที่มากที่สุด

โครงการ เอ๊กเซลซิเออร์ 3

เขารู้มากกว่าใครๆ ว่าปฏิบัติการนี้มันอันตรายเพียงใด เพราะในความพยายามครั้งก่อนหน้า การทำงานผิดพลาดของอุปกรณ์ทำให้เขาหมดสติและเกือบตาย

ไม่มีระบบช่วยการดำรงชีวิตมีเพียงชุดควบคุมความดันที่ปกป้องคิททิงเจอร์

ตลอดช่วงเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง บอลลูนฮีเลียมซึ่งเชื่อมอยู่กับที่บรรทุกผู้โดยสารซึ่งคิททิงเจอร์อยู่ ได้ผ่านออกจากชั้นโทรโพสเฟียร์ และเข้าสู่ชั้นสตราโทสเฟียร์ สู่ความสูงที่ไม่มีมนุษย์คนใดเคยไปถึงมาก่อน

โทรโพสเฟียร์ สูงขึ้นไป 20 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน สตราโทสเฟียร์ สูงขึ้นไป 50 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน

นาวาอากาศเอกโจ คิททิงเจอร์ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา – “ผมเห็นเมฆอยู่ข้างใต้ และบรรยากาศ ชั้นหมอก มันเป็นความรู้สึกที่ยอดเยี่ยมมาก ผมรับรู้ว่าแม้มันจะสูงแค่ 20 ไมล์เหนือจากพื้นโลก แต่รอบๆ ตัวมันเต็มไปด้วยอันตรายมากเพียงใด”

คิททิงเจอร์ได้ผ่านทะลุชั้นโอโซน อุณหภูมิเฉลี่ยที่ความสูงนี้ -70 องศาเซลเซียส

หลังจากขึ้นไปถึงจุดหมายของเขาที่ความสูงมากกว่า 30 กิโลเมตรจากพื้นโลก เขาต้องตัดสินใจว่าจะใช้โอกาสนี้อย่างไร

ถ้าหากคิททิงเจอร์ขึ้นไปสูงกว่านั้น ชุดควบคุมความดันของเขาจะไม่สามารถปกป้องเขาจากบรรยากาศที่เบาบางและหนาวจัดได้อีกต่อไป

นาวาอากาศเอกโจ คิททิงเจอร์ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา – “ผมสวดมนต์ในใจ แล้วกดปุ่มเริ่มให้กล้องทำงาน ก่อนกระโดดจากที่บรรทุกผู้โดยสาร แล้วพอผมพลิกตัว ผมก็เห็นบอลลูนพุ่งขึ้นสู่สรวงสวรรค์ ด้วยอัตราเร็วแบบที่เร็วสุดๆ สิ่งที่ผมเห็นก็คือมันกำลังบินหนีไป แต่จริงๆ แล้ว บอลลูนยังคงอยู่ตรงนั้น เป็นผมเองต่างหากที่กำลังตกลงมาอย่างเร็วจี๋”

เขาตกลงมาอย่างอิสระด้วยอัตราเร็วที่ทุบสถิติเลยทีเดียว ในเวลาแค่ 4 นาทีครึ่ง ที่อัตราเร็วถึงเกือบ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1960 ขณะที่การสำรวจอวกาศยังคงเป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์ คิททิงเจอร์ได้เดินทางสู่ความสูงเหนือจินตนาการ ในชั้นสตราโทสเฟียร์ ไปอยู่ที่ขอบของอวกาศ เขาได้ก้าวเดินบนจุดที่สูงที่สุดในโลก

Related films

  • ขนาดของเอกภพ

    ขนาดของเอกภพ

  • หลุมดำ

    หลุมดำ

  • หลุมดำในกาแล็กซีทางช้างเผือก

    หลุมดำในกาแล็กซีทางช้างเผือก

  • กล้องโทรทรรศน์

    กล้องโทรทรรศน์

  • กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล

    กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล

previous next

Related glossary films

    0
  • พันล้าน

    พันล้าน

  • 0
  • จุดเดือด

    จุดเดือด

  • 0
  • อะดรีนาลีน

    อะดรีนาลีน

  • 0
  • ถุงลม

    ถุงลม

  • 0
  • น้ำคร่ำ

    น้ำคร่ำ

  • 0
  • อะไมเลส

    อะไมเลส

  • 0
  • กล้ามเนื้อคู่ตรงข้าม

    กล้ามเนื้อคู่ตรงข้าม

  • 0
  • ยาปฏิชีวนะ

    ยาปฏิชีวนะ

  • 0
  • การดื้อยาปฏิชีวนะ

    การดื้อยาปฏิชีวนะ

  • 0
  • แอนติบอดี

    แอนติบอดี

previous next

Embed this film

Copy and paste the embed code above to include this film on other websites.

Share this film

Copy and paste the code above to link to this page.
  • วิธีใช้ทวิก
  • คำถามที่พบบ่อย
  • เงื่อนไขและข้อตกลงทั่วไป