รสหวาน กล้วยน้ำว้าบด
เราอาศัยการรับรสเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจว่าควรกินอะไร
รสขม ชิโครีบด
เมื่อเราเป็นเด็ก เราจะพยายามลองกินแทบทุกอย่างสักหนึ่งครั้ง
เราใช้ลิ้นช่วยตัดสินว่า เราจะกินหรือไม่กินอะไร...
และในวัยนี้เอง เราก็ได้ปฏิเสธอาหารไปแล้วจำนวนมาก
พืชมีพิษมักมีรสขม และสิ่งที่มีรสเปรี้ยวอาจบอกได้ว่ามันกำลังเสียหรือยังไม่สุกเต็มที่
ดังนั้นเราจึงเริ่มต้นชีวิตด้วยการไม่ชอบอาหารรสขมหรือเปรี้ยว เพื่อให้รอดพ้นจากอันตราย
การรับรู้รสเป็นสัญชาตญาณของการอยู่รอด
ในขณะเดียวกัน ความต้องการพลังงานทำให้เราชอบอาหารที่มีน้ำตาล และเกลือเพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป
ดังนั้นการรับรู้รสช่วยให้เราสามารถแยกแยะอาหารที่มีอันตราย ออกจากอาหารที่เราต้องกินเพื่อความอยู่รอด
ลิ้นของเราถูกปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรสหลายพันปุ่ม ที่ช่วยทำหน้าที่นี้
เรารับรู้รสได้อย่างไร
ขณะที่เรากิน น้ำลายจะช่วยย่อยอาหารที่เราเคี้ยวในปากให้เล็กลง
น้ำลายจะช่วยปลดปล่อยสารเคมีต่างๆ ให้จับกับปุ่มรับรสบนลิ้น
ปุ่มรับรส
เซลล์รับรสมีหลายชนิด เพื่อรับรสพื้นฐาน 4 ชนิด คือ รสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสขม
หวาน เค็ม เปรี้ยว ขม
เมื่อถูกกระตุ้น เซลล์แต่ละชนิดจะส่งสัญญาณไปยังสมอง
“ผมไม่ชอบมันเลยฮะ”
“บีบจมูกไว้ ฉันจะเอาอะไรบางอย่างใส่ในปากคุณ”
...Please log in to view and download the complete transcript.