สมองของเราประมวลสัญญาณภาพที่ส่งมาจากนัยน์ตาด้วยหลากหลายวิธี
เรามองเห็นได้อย่างไร
ไม่น่าเชื่อว่า ในตาแต่ละข้างจะมีจุดเล็กๆ ที่มีเซลล์รูปกรวยอันกันอยู่อย่างหนาแน่น สำหรับมองภาพสีให้คมชัด
จุดเล็กๆนี้เรียกว่า โฟเวีย อยู่ในบริเวณที่เรียกว่ามาคูลา และเป็นเพียงจุดเดียวที่ภาพจากจอตาจะไม่เบลอ...
มาคูลา
โฟเวียมีความกว้างเพียง 1 ส่วน 5 มิลลิเมตร
0.2 มม.
นั่นหมายความว่า ในแต่ละครั้งที่มอง ตาของคุณจะเห็นภาพได้ชัดเจนเพียงแค่บริเวณเล็กๆของภาพที่อยู่ตรงหน้าคุณเท่านั้น
คุณจะกลอกตาไปมาตลอดเวลาโดยที่คุณไม่รู้ตัว
จากนั้นสมองจะรวบรวมภาพเหล่านี้ และให้ภาพลวงที่บอกว่าทุกอย่างชัดเจน
และหน้าที่ของสมองไม่เพียงแค่ทำภาพให้ชัดเจนเท่านั้น
แต่ยังทำหน้าที่เหมือนเครื่องฉายสไลด์ คือเลนส์ในตาของคุณจะสร้างภาพแบบหัวกลับบนจอตา
แล้วสมองจะปรับเป็นภาพหัวตั้งโดยอัตโนมัติ
และเนื่องจากภาพเหล่านี้ถูกส่งมาจากตาสองข้างพร้อมกัน ไม่ใช่แค่ข้างเดียว สมองจึงต้องรวมภาพจากตาทั้งสองข้างให้เป็นภาพเดียวที่คุณเห็น.
ดังนั้นสมองต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง จึงจะแปลงภาพกลับหัว รวมภาพจากตาทั้งสองข้าง และสร้างภาพที่คมชัดต่อเนื่องแบบที่เราเห็นอยู่
กระบวนการทั้งหมดเกิดขึ้นโดยที่คุณเองก็ไม่รู้ตัวเลย
Please log in to view and download the complete transcript.