แอลเอสดี ย่อมาจากไลเซอร์จิก แอซิด ไดเอทิลาไมด์
ไลเซอร์จิก แอซิด ไดเอทิลาไมด์
ซึ่งสร้างโดยเชื้อราชนิดหนึ่ง
มันอยู่ในรูปของเหลว แต่มักถูกซับใส่กระดาษ
ในระหว่างทศวรรษที่ 1950 ถึง 60 มันถูกใช้เป็นยาสำหรับรักษาผู้ป่วยทางจิตในหลายๆ ประเทศ
ซึ่งทำให้มันถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในกิจกรรมสันทนาการ ก่อนที่ความกังวลจากผลของมันจะนำไปสู่การห้ามใช้
ผลต่อสมอง
แอลเอสดี มีผลโดยตรงต่อการรับรู้ของมนุษย์
มันเป็นสารหลอนประสาท และสร้างภาพหลอนขึ้นในผู้เสพ
มันทำเช่นนี้โดยการเข้าไปจับกับกลีบสมองส่วนหน้าและเส้นทางของสารเซโรโทนิน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุข
สารเสพติดนี้ยังมีผลทำให้เกิดจินตนาการ หมายความว่า ผู้เสพจะไม่สามารถควบคุมการเห็นภาพหลอนได้
ผู้เสพจะเกิดความหวาดกลัวและรู้สึกสับสน เมื่อไม่สามารถแยกระหว่างความจริงกับภาพหลอนได้
ภาพหลอนอาจเกิดได้นานนับสัปดาห์หรือหลายเดือน ภายหลังการเสพ
ผลต่อร่างกาย
อาการประสาทหลอนทำให้เกิดการรับรู้ และพฤติกรรมที่ผิดปกติ และนำไปสู่การกระทำที่เป็นอันตราย
ในอดีต ได้มีการนำคุณสมบัติการหลอนประสาทของแอลเอสดีไปทดสอบเพื่อใช้ในสงครามชีวภาพ ที่ใช้ทำลายกองทัพศัตรู
ผู้ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของแอลเอสดีจะไม่ตระหนักถึงการกระทำของตนเอง
และผลที่จะเกิดขึ้น จึงเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
Please log in to view and download the complete transcript.