ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นการปฏิวัติวงการชีววิทยา
เราไม่เพียงแต่จะสังเกตเห็นเซลล์เท่านั้น แต่เราสามารถควบคุมมันได้…
และยังเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ด้วย
นักวิทยาศาสตร์สามารถตัดยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่ง และใส่เข้าไปในดีเอ็นเอของอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันทางสายพันธุ์เลย
กระบวนการอันน่าอัศจรรย์นี้ เรียกว่า การดัดแปลงทางพันธุกรรม
การดัดแปลงทางพันธุกรรม (GM)
เนื่องจากเซลล์ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตต่างก็มีดีเอ็นเอ ดังนั้นยีนใหม่จึงยังสามารถทำงานได้ในเซลล์ต่างถิ่น
ซึ่งหมายความว่า โปรตีนที่ปกติผลิตขึ้นในปลาเท่านั้น สามารถนำไปใส่ในพืช หรือโปรตีนของมนุษย์สามารถผลิตในแบคทีเรียได้
เทคนิคใหม่เหล่านี้มีศักยภาพสูงมาก แต่การดัดแปลงทางพันธุกรรมก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่มากเช่นกัน
การดัดแปลงทางพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงของโลกเรา
หนึ่งในนวัตกรรมแรก คือ การใช้แบคทีเรียในการผลิตอินซูลินของมนุษย์ เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ยีนของมนุษย์ที่ใช้ในการสร้างอินซูลิน ถูกตัดด้วยเอนไซม์ และใส่เข้าไปในดีเอ็นเอขนาดเล็ก ที่เรียกว่า พลาสมิด
พลาสมิด
จากนั้น พลาสมิดรูปวงแหวนนี้จะถูกใส่เข้าไปในเซลล์แบคทีเรีย
ราะแบคทีเรียสามารถแบ่งตัวได้รวดเร็ว ทำให้ผลิตอินซูลินของมนุษย์ได้ในปริมาณมหาศาล
ในทำนองเดียวกัน การดัดแปลงทางพันธุกรรมของพืช สามารถเพิ่มศักยภาพทางการเกษตรได้อย่างน่าทึ่ง
ต้นยาสูบสามารถถูกดัดแปลงให้เรืองแสงเมื่อขาดน้ำ
ข้าวโพดที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม สามารถทนความแห้งแล้งได้ดี
และมันฝรั่งจีเอ็ม สามารถต้านทานศัตรูพืชได้
เป็นเวลาหลายพันปี ที่มนุษย์ทำการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของพืช โดยเทคนิคการผสมพันธุ์แบบดั้งเดิม
กำจัดสายพันธุ์ที่อ่อนแอ โดยการคัดเลือกสายพันธุ์ ...
Please log in to view and download the complete transcript.