เราดำรงชีวิตโดยพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล
ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติให้พลังงานประมาณ 90% ของพลังงานที่ใช้ทั้งโลก
การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของโลก:ถ่านหิน 28% น้ำมัน 40% ก๊าซธรรมชาติ 20%
แม้ว่ามันจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เชื้อเพลิงทั้งสามชนิดนี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอน ที่เกิดจากซากฟอสซิลของพืชและสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
เชื้อเพลิงฟอสซิลส่วนใหญ่ที่เราใช้ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากสิ่งที่มีชีวิตอยู่หลายล้านปีก่อนที่จะมีไดโนเสาร์ตัวแรก
แต่ซากเหล่านี้ยังคงเป็นแหล่งพลังงานที่ทรงพลังได้อย่างไร?
พืชดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานที่ใช้ได้ผ่านกระบวนการทางชีวภาพที่เรียกว่า การสังเคราะห์ด้วยแสง
เมื่อพืชและสัตว์เหล่านั้นตาย พวกมันจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์
โดยกระบวนการนี้ สสารอินทรีย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จะถูกฝังอยู่ในชั้นใต้ดิน ซึ่งมีพลังงานเคมีกักเก็บไว้ภายใน
เมื่อเวลาผ่านไป ความดันและความร้อนบีบอัดวัตถุเหล่านี้ ขับสารจำพวกน้ำออก เหลือไว้แต่คาร์บอนที่เข้มข้นและกลายเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลในรูปของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ที่เรารู้จักในทุกวันนี้
การเกิดเชื้อเพลิงฟอสซิล
น้ำมันและก๊าซเกิดจากซากอินทรีย์ของสิ่งมีชีวิตในทะเลบริเวณพื้นทะเล
ถ่านหินจะเกิดขึ้นโดยทั่วไปในสภาวะที่ไม่ใช่ทะเล จากซากของพืชบนบก
ปัจจุบัน เชื้อเพลิงนี้ถูกสกัดจากใต้ดินลึก
เชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เรามีแหล่งพลังงานที่พร้อมใช้
แต่เพราะว่าพวกมันใช้เวลานานมากกว่าจะเกิดขึ้น เชื้อเพลิงฟอสซิลจึงไม่สามารถถูกแทนที่ในช่วงระยะเวลาของมนุษย์ ซึ่งหมายความว่าแหล่งพลังงานเหล่านี้มีอยู่อย่างจำกัด และไม่ยั่งยืน
Please log in to view and download the complete transcript.