ขุดอดีตของเราขึ้นมา นักล่าฟอสซิลหรือนักบรรพชีวินวิทยา ตามหาร่องรอยประวัติศาสตร์ของชีวิตบนโลกจากกระดูกแต่ละชิ้น
ฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ คือเศษซากหรือรอยประทับที่พืชหรือสัตว์โลกเมื่อหลายพันปีก่อนทิ้งเอาไว้
ฟอสซิลเกิดขึ้นเมื่อวัสดุอินทรีย์ถูกปกคลุมอย่างรวดเร็วด้วยตะกอน ซึ่งมักมากับน้ำ หรือถูกรักษาไว้ในชั้นดินเยือกแข็ง
วัสดุอินทรีย์ที่ไม่เน่าเปื่อยและรอดพ้นจากการรบกวนของสัตว์กินซาก จะค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วย แร่ธาตุจนกลายเป็นฟอสซิล
แต่ฟอสซิลไม่ได้มีเพียงแค่กระดูกเก่าๆ
มันอาจเป็นเปลือกหอย
ผิวหนังและเนื้อเยื่อ
พืชโบราณ เช่น เฟิร์น และเมล็ดพืช
ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตทั้งตัว อย่างไดโนเสาร์หรือต้นไม้ที่ยาวหลายเมตรและหนักหลายตัน
ฟอสซิล: ซากของพืชและสัตว์ที่ถูกเก็บรักษาไว้ใช้เวลาหลายร้อยจนถึงหลายล้านปีจนกลายเป็นฟอสซิล
อายุสัมพัทธ์สามารถประเมินได้จากแหล่งที่พบฟอสซิลนั้น
ฟอสซิลที่อยู่ในหินชั้นล่างจะมีอายุเก่าแก่กว่าฟอสซิลที่อยู่ในชั้นบน
การเปรียบเทียบฟอสซิลทำให้นักบรรพชีวินวิทยาสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงของพืชและสัตว์ หรือวิวัฒนาการในช่วงเวลาหลายล้านปี ที่พวกมันได้ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อความอยู่รอด
นักบรรพชีวินวิทยาคนนี้กำลังวิเคราะห์ฟอสซิลของไดโนเสาร์ยุคแรกๆ จากซีกโลกใต้
ตัวอย่างของเขาแสดงให้เห็นว่ามีส่วนนูนที่ช่วงบนของกระดูกขา ในขณะที่กระดูกที่พบในซีกโลกเหนือ ไม่มีรอยนูนแบบนี้
นั่นแสดงให้เห็นว่า เมื่อพื้นโลกในยุคแรกเคลื่อนตัวออกจากกัน สัตว์ในแต่ละพื้นที่มีวิวัฒนาการแตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่ที่เปลี่ยนไป
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระทีละเล็กละน้อยแบบนี้ เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายล้านปี จนในที่สุดก่อให้เกิดไดโนเสาร์ชนิดใหม่ขึ้นในโลก
หลักฐานจากฟอสซิลทำให้เราทราบว่าสิ่งมีชีวิตทั้งที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้วนั้น มีวิวัฒนาการผ่านกาลเวลามาอย่างไร
และความรู้นี้บรรจุอยู่ในก้อนหิน ซึ่งก็คือบันทึกจากซากฟอสซิลนั่นเอง
Please log in to view and download the complete transcript.