วิถีชีวิตของชนเผ่าพเนจรในหุบเขาสุดชายแดนประเทศมองโกเลีย ทางใต้ของไซบีเรียประเทศรัสเซียกำลังถูกคุกคาม
หนึ่งในชนเผ่าที่ยังคงพเนจรอยู่ในโลกคือ ชนเผ่าดาร์ฮัต
ชนเผ่าดาร์ฮัต
ชนเผ่าดาร์ฮัต ไม่มีถิ่นฐานที่แน่นอน พวกเขาถือเป็นชนเผ่าที่พึ่งพาตนเองได้มากที่สุดชนเผ่าหนึ่งในโลก
แต่ละครอบครัวยังคงใช้เวลาทั้งหมดไปกับการต้อนสัตว์เลี้ยงไปหาแหล่งอาหาร แม้สภาวะแวดล้อมจะแร้นแค้น
ชนเผ่าพเนจร:ชนเผ่าที่ไม่มีถิ่นฐานแน่นอน ย้ายถิ่นฐานไปตามฤดูกาล
ฤดูใบไม้ร่วง
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ที่พักของพวกเขาจะมีลักษณะเป็นกระโจมที่บุด้านในด้วยผ้าสักหลาดซึ่งสามารถสร้างได้ภายในเวลาแค่ไม่เกิน 1 ชั่วโมง และมีโรงเก็บของที่ทำด้วยไม้ซึ่งมีความแข็งแรงอยู่ได้นานเป็นปี
ถึงแม้ว่าความทันสมัยจะเข้ามาคุมคามต่อวิถีชีวิตในแบบดั้งเดิม แต่พวกเขาก็ยินดีที่จะรับมา
ภายในชนเผ่าจะมีกระโจมใดกระโจมหนึ่งที่เริ่มมีเตาแก๊สและโทรทัศน์ไว้ใช้
เริ่มมีการหาซื้อเสื้อกันหนาวจากในเมือง ซึ่งแตกต่างไปจากเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมของชนเผ่า
และเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ก็ถึงเวลาที่พวกเขาต้องเดินทางข้ามเทือกเขาสูงกว่า 3,000 เมตร ที่มีอุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส
แม่บ้านมีหน้าที่เตรียมอาหารให้พร้อมสำหรับการเดินทาง
จะมีการแปรรูปนมให้กลายเป็นโยเกิร์ต นมผสมเหล้า หรือชีส เพื่อให้สามารถเก็บไว้บริโภคได้นานๆ
และเตรียมเนื้อจากฟาร์มปศุสัตว์ของพวกเขา
ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของชนเผ่าดาร์ฮัต คือ ฝูงสัตว์ล้มตาย….ด้วยสภาพอากาศ และบางครั้งก็ถูกโจมตีโดยพวกหมาป่า
หมอผีถือเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของชนเผ่าดาร์ฮัต ที่ติดต่อกับภูตผี และชี้นำเส้นทางที่ปลอดภัยให้กับชนเผ่าและสัตว์เลี้ยงเพื่อให้รอดพ้นจากภยันอันตราย
ฤดูหนาว
หลังจากที่เดินทางผ่านความยากลำบากและยาวนานมาเป็นเดือน พวกเขาก็มาถึงที่สำหรับการสร้างที่พักในฤดูหนาว
พวกเขาจะอาศัยอยู่ที่นี่ไปจนถึงฤดูใบไม้ผลิ จึงจะเดินทางข้ามภูเขาอีกครั้ง
แต่ทว่าวิถีชีวิตแบบนี้จะยังคงอยู่อีกนานแค่ไหน?
...Please log in to view and download the complete transcript.