ยุคมืด
ราวปี ค.ศ.500 – 1000
เมื่อยุโรปก้าวพ้นจากยุคมืด ถือเป็นการเริ่มต้นวัฒนธรรมใหม่ที่เชื่อว่า ความรู้มาจากการคิดอย่างมีเหตุผล
ซึ่งมีหัวใจหลัก คือการหาคำตอบทางคณิตศาสตร์
ในศตวรรษที่ 16 มีการดวลกันทางคณิตศาสตร์ตามท้องถนนในเมือง
บรรดาผู้มีความรู้ทั้งหลายต่างตั้งคำถามทางคณิตศาสตร์ให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง
จนกว่าจะมีใครยอมแพ้
ในช่วงเวลานั้น ยังใช้ถ้อยคำในการบรรยายคณิตศาสตร์ สมการที่เกิดขึ้นจึงยืดยาวอย่างเหลือเชื่อ
การแก้ปัญหาโดยให้คณิตศาสตร์เขียนง่ายขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
การสร้างสัญลักษณ์
นักคณิตศาสตร์ชาวยุโรปรุ่นใหม่ เริ่มต้นใช้สัญลักษณ์ในงานเขียนของพวกเขา
ในศตวรรษที่ 17 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ เจมส์ ฮอดเดอร์ ได้เขียนไว้ว่า
‘เครื่องหมายบวกหมายถึงการบวกเข้าด้วยกัน เส้นสองเส้นนั้นหมายถึงการเท่ากัน หรือ สมการ แต่ x หมายถึง การคูณ’
ช่วงเวลานั้น ถือเป็นช่วงที่มีการสร้างมาตรฐานให้กับสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น การหาร อัตราส่วน และมุม
ฟรองซัวส์ เวียต
ปี ค.ศ.1540–1603
แต่ฟรองซัวส์ เวียต ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ทางคณิตศาสตร์
เขาเป็นคนแรกที่คิดใช้ตัวอักษรแทนที่ในตำแหน่งของตัวเลข
พยัญชนะ เขียนแทนปริมาณที่ทราบค่าแล้ว
สระ เขียนแทนปริมาณที่ยังไม่ทราบค่า
Q ใช้แทน การยกกำลังสอง
การสร้างวิธีการใหม่นี้ ทำให้แก้สมการต่างๆ ได้ โดยใช้หลักเกณฑ์ทั่วๆ ไป
เวียตและผู้สืบทอดต่อจากเขา ได้นำหลักเกณฑ์มาใช้เพื่อดุลสมการที่เริ่มใช้กันในโลกอาหรับ ซึ่งก็คือพีชคณิต
สัญลักษณ์ต่างๆ กลายเป็นพื้นฐานของพีชคณิต ซึ่งเป็นการใช้ชวเลขในสมการคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน
ซึ่งเป็นการกรุยทางให้กับยุโรป จนกลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางคณิตศาสตร์ในศตวรรษต่อมา