กล้วยและลาเวนเดอร์
สับปะรดและน้ำหอม
เช่นเดียวกับสารที่ให้กลิ่นหอมหวานอื่นๆ สารหอมระเหยเหล่านี้ล้วนมาจากสารเคมีที่เรียกว่า เอสเทอร์
เอสเทอร์
เอสเทอร์เป็นสารประกอบอินทรีย์ ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างแอลกอฮอล์กับกรดคาร์บอกซิลิก เอสเทอร์เกิดจากการจัดเรียงตัวของอะตอมคาร์บอนและออกชิเจน เป็นพันธะเอสเทอร์
พันธะเอสเทอร์
เอสเทอร์มีอยู่มากมายในธรรมชาติ แต่ก็สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ในห้องทดลองจากการทำปฏิกิริยากันของสารสองชนิด โดยมีกรดซัลฟูริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
แอลกอฮอล์
หนึ่งในสารสองชนิดดังกล่าว คือแอลกอฮอล์ เช่น เมทานอล หรือเอทานอล
กรดคาร์บอกซิลิก
สารอีกชนิด คือกรดคาร์บอกซิลิก เช่น กรดเอทาโนอิก หรือกรดบิวทาโนอิก
สิ่งที่น่าแปลกใจเกี่ยวกับกรดคาร์บอกซิลิกคือ การมีกลิ่นเปรี้ยวที่ไม่พึงประสงค์นัก แต่เมื่อนำมารวมกับแอลกอฮอล์เป็นเอสเทอร์แล้ว กลับได้กลิ่นที่หอม
เช่นกรดบิวทาโนอิก ที่ทำให้เนยที่เน่าเสียมีกลิ่นเหม็นหืน แต่เมื่อรวมกับเอทานอล กลับให้เอสเทอร์ที่มีกลิ่นสับปะรด
กรดเอทาโนอิกที่ให้กลิ่นฉุนในน้ำส้มสายชู เมื่อรวมกับแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ กลับให้กลิ่นหอมที่หลายหลาย เช่น กลิ่นลูกแพร์ กลิ่นกล้วย และกลิ่นผลไม้จำพวกส้ม
นอกจากนี้ เอสเทอร์ยังถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมน้ำหอม
นอกจากน้ำหอมจะต้องมีกลิ่นที่ดึงดูดแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ จึงจะประสบความสำเร็จทางการค้า
น้ำหอมจะต้องปลอดภัย ไม่เป็นพิษ และไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง
และจะต้องไม่ถูกล้างออกได้โดยง่าย ไม่ทำปฏิกิริยากับเหงื่อและไม่ละลายหรือทำปฏิกิริยากับน้ำ
และเพื่อให้กลิ่นไปถึงจมูกได้อย่างรวดเร็ว สารในน้ำหอมจะต้องระเหยได้ง่าย
นอกจากนี้ กลิ่นหอมของเอสเทอร์ยังถูกนำมาใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมอาหาร
หากปราศจากเอสเทอร์ กลิ่นของโลกรอบๆ ตัวเราคงจะแตกต่างจากนี้มาก และคงไม่น่าพิศมัยนัก