ในปี ค.ศ.1954 นักคณิตศาสตร์ชื่อ เซอร์ โรเจอร์ เพนโรส ได้เดินทางไปยังอัมสเตอร์ดัมเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณิตศาสตร์นานาชาติ
เซอร์ โรเจอร์ เพนโรส
มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร
การเดินทางครั้งนั้นได้เปลี่ยนชีวิตของเขาและส่งผลให้เกิดผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดในศิลปะยุคใหม่
ในการประชุม เพนโรส ได้เห็นการยกตัวอย่างของ ‘รูปร่างที่เป็นไปไม่ได้’
มันเป็นรูปร่างที่เป็นไปไม่ได้เพราะ แม้ว่าจะวาดรูปเหล่านั้นได้ในสองมิติ แต่มันจะไม่มีจริงในสามมิติ
เพนโรส เดินทางกลับบ้านและตัดสินใจแน่วแน่ที่จะออกแบบรูปร่างที่เป็นไปไม่ได้ของเขาเอง
สามเหลี่ยมของเพนโรส
เขาได้สร้างสามเหลี่ยมของเพนโรสขึ้น
เพนโรสใช้รูปทรงเรขาคณิตเพื่อลวงประสาทสัมผัสในการรับรู้
สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อมีรูปแบบที่ทำให้ระบบการมองเห็นของเราสามารถแปลผล
ได้มากกว่าหนึ่งวิธี
ทัศนมิติที่ผิดพลาด ถูกสร้างขึ้นจากการจินตนาการว่า เส้นขนานที่อยู่ห่างออกไป
จะยังคงขนานกัน
พร้อมทั้งการเพิ่มจุดเชื่อมโยงที่ไม่น่าเป็นไปได้เข้าไว้ด้วยกัน
ส่งผลให้รูปร่าง ซึ่งอาจดูเหมือนสมบูรณ์ดีในตอนต้น แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่
บันไดของเพนโรส
รูปร่างที่เป็นไปไม่ได้ลำดับที่สองคือ บันไดของเพนโรส
ในภาพนี้ แต่ละด้านของบันไดดูเหมือนเป็นบันไดปกติ แต่เมื่อรวมทุกด้านเข้าด้วยกันแล้วมันกลายเป็นบันไดที่ไม่รู้จบ
เอ็มซี เอชเชอร์
ปี ค.ศ.1898 – 1972
เพนโรสส่งสำเนาภาพของเขาให้กับศิลปินภาพพิมพ์คนหนึ่ง ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เพนโรสในอัมสเตอร์ดัม ศิลปินผู้นี้คือ เอ็มซี เอชเชอร์
เอชเชอร์ รักในภาพลวงตา และใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ในงานศิลปะของเขา
อยู่บ่อยครั้ง
ศาสตราจารย์เอียน สจ๊วต มหาวิทยาลัยวอริค สหราชอาณาจักร – “สิ่งที่น่าทึ่งเกี่ยวกับ เอ็มซี เอชเชอร์ คือ เขาได้นำเสนอการรวมกันของคณิตศาสตร์ และศิลปะได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งสองอย่างอยู่บนโลกที่แตกต่างกัน แต่ในงานของเขา มันถูกรวมให้เป็นหนึ่งเดียว”
ภาพขึ้นและลง
ปี ค.ศ.1960
เอชเชอร์ หลงใหลและได้รับแรงบันดาลใจจากบันไดของเพนโรส จนได้สร้างผลงานชิ้นโบว์แดงของเขาขึ้นมา นั่นคือภาพขึ้นและลง
มันแสดงถึงเส้นทางที่บิดเบือน จนดูเหมือนว่ากลุ่มคนในภาพถูกกำหนดให้เดินวน โดยไม่รู้จบ
“สิ่งที่ทุกคนหลงใหลเกี่ยวกับภาพลวงตา คือ มันได้แสดงให้เรารู้ว่า เราไม่ได้เพียงแค่รับรู้โลกในแบบที่มันเป็นอยู่เท่านั้น สมองของเรายังแปลผลในสิ่งที่เรารับรู้ และช่วยสันนิษฐานว่าสิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่นั้นคืออะไร ภาพลวงตาของเอชเชอร์ ทำให้สมองส่วนนั้นของเราได้ใช้งานอย่างแท้จริง นี่เรากำลังมองอะไรอยู่? สิ่งที่เรามองเห็นคืออะไร?”