บางครั้ง รหัสทางคณิตศาสตร์อาจชี้เป็นชี้ตายได้
ในช่วงปลายของทศวรรษ 1920 เครื่องมือชิ้นใหม่สำหรับการเข้ารหัสข้อมูล หรือการซ่อนข้อมูล ได้ปรากฏขึ้นในประเทศเยอรมนี
มันคือ เครื่องอินิกมา
เครื่องอินิกมา
เครื่องอินิกมาถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยกองกำลังนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มันสลับปรับเปลี่ยนข้อมูลที่รับส่งระหว่างกลุ่มทหาร
สงครามโลกครั้งที่สอง
ปี ค.ศ.1939 – 1945
ด้วยยุทธวิธีนี้ ถึงแม้กองกำลังกลุ่มพันธมิตรจะดักฟังข้อความได้ ก็ไม่สามารถเข้าใจมันได้ หากไม่มีกุญแจพิเศษในการถอดรหัส
แต่มันทำงานอย่างไร ?
รหัสอินิกมา
เมื่อข้อความถูกพิมพ์ มันจะเปลี่ยนเป็นตัวอักษรที่เข้ารหัสเรียบร้อยแล้ว หรือที่เรียกว่า ข้อความไซเฟอร์
อย่างไรก็ตาม ด้วยความซับซ้อนของตัวเครื่อง แต่ละครั้งที่กดแป้นพิมพ์ ตัวอักษรที่พิมพ์ออกมาจะต่างกัน
เพื่อที่จะเข้าใจหลักคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เราต้องมีความรู้เกี่ยวกับ หลักการของการเรียงสับเปลี่ยน
การเรียงสับเปลี่ยน คือ การจัดกลุ่มโดยมีลำดับ
เครื่องมือที่กองทัพจัดทำ มีล้อหมุนที่สลับเปลี่ยนกันได้ 5 ล้อ แต่มีตำแหน่งแค่ 3 ตำแหน่ง
จำนวนวิธีของการเรียงสับเปลี่ยน คือ 5 คูณ 4 คูณ 3 เท่ากับ 60 วิธีที่เป็นไปได้
แต่ละล้อหมุน มีตำแหน่งจุดเริ่มต้นอยู่ 26 จุด ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความเป็นไปได้นับหลายพันแบบ
ล้อหมุนแต่ละอันยังทำให้ล้ออื่นๆ หมุนตามได้มากกว่า 600 รูปแบบ
และกระดานแผงวงจรของเครื่อง ซึ่งมีสายเคเบิ้ลสิบสาย สามารถจับคู่ตัวอักษร ได้หลายล้านวิธี
ผลลัพธ์ก็คือ เครื่องอินิกมา สามารถซ่อนข้อความ โดยการเรียงสับเปลี่ยนได้มากกว่า หนึ่ง แสน ล้าน ล้าน ล้าน รูปแบบ
การที่จะเอาชนะระบบกลไกนี้ดูจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
แต่ว่า นักถอดรหัส มีเบาะแสบางอย่าง เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องนี้
ตัวอย่างของเบาะแส คือ มีการสื่อสารบ่อยครั้งที่มักจะเริ่มต้นและลงท้าย ด้วยประโยคเดิมๆ ตามธรรมเนียมนิยม
และเนื่องจากส่วนต่างๆ ของข้อความ ได้ถูกส่งซ้ำๆ แต่ถูกเข้ารหัสแตกต่างกันในแต่ละครั้ง ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบส่วนที่ซ้ำนี้ได้
ตลอดช่วงสงคราม เจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษกว่า 7,000 คน ทำงานเป็นกะ เพื่อถอดรหัสข้อความที่ดูเหมือนจะไม่สามารถอ่านออกได้
แต่ด้วยการผสมผสานระหว่าง คณิตศาสตร์ และ กลศาสตร์ ในที่สุดรหัสก็ถูกถอดได้
ภายในปี ค.ศ.1940 ระบบถอดรหัสอินิกมาที่ไว้ใจได้ ได้ถูกจัดทำขึ้น และได้ช่วยให้กลุ่มพันธมิตรย่นระยะเวลาสงครามลง 2 ปี และสามารถช่วยชีวิตได้หลายพันคน