เมื่อปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงของพลังงานเกิดขึ้นด้วย
ปฏิกิริยาที่ปล่อยพลังงานออกมา เรียกว่า ปฏิกิริยาคายความร้อน ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นมีพลังงานมากกว่าสารผลิตภัณฑ์ และพลังงานส่วนเกินนี้จะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อน
การเผาไหม้เป็นปฏิกิริยาคายความร้อนที่รู้จักกันดี
การเผาไหม้ของวัสดุ เช่น ไม้กับออกซิเจน จะคายความร้อนไปสู่สิ่งแวดล้อม
ปฏิกิริยาคายความร้อน ปลดปล่อยความร้อน
ในทางตรงกันข้าม ปฏิกิริยาดูดความร้อนต้องการความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดปฏิกิริยา
ปฏิกิริยาดูดความร้อน ดูดความร้อน
การสลายตัวทางความร้อน
ตัวอย่างที่สำคัญคือการสลายตัวทางความร้อน ซึ่งมักจะเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นเมื่อใดก็ตามที่ความร้อนถูกใช้ในการแตกสารประกอบให้กลายเป็นสารจำนวน 2 ชนิดขึ้นไปที่เล็กกว่าเดิม
คุณได้รับประโยชน์จากปฏิกิริยาประเภทนี้ เมื่อคุณทำขนมเค้กโดยใช้โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ที่เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือผงฟู
ที่อุณหภูมิสูง โซเดียมไบคาร์บอเนตจะสลายตัวกลายเป็นโซเดียมคาร์บอเนตกับน้ำ และที่สำคัญที่สุดสำหรับเค้กของคุณ คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
2NaHCO3(s)→ Na2CO3(s) + H20(l) +CO2(g)
ฟองอากาศของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาช่วยทำให้เค้กฟูขึ้น
แต่ปฏิกิริยานี้สามารถเกิดขึ้นได้ที่อุณหภูมิสูงเท่านั้น ถ้าตั้งส่วนผสมของเค้กทิ้งไว้ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตก็จะยังคงอยู่เหมือนเดิม
นี่เป็นเพราะว่าความร้อนได้ให้พลังงานที่เพียงพอ เพื่อใช้ในการสลายพันธะเคมีที่แข็งแรงในสารประกอบได้
การสลายพันธะนั้นต้องดึงพลังงานเข้าไป ในขณะที่การสร้างพันธะจะเป็นการคายพลังงานเสมอ
เนื่องจากพันธะบางตัวมีความแข็งแรงกว่าพันธะอื่นๆ มันจึงขึ้นอยู่กับการสมดุลพลังงาน ...
Please log in to view and download the complete transcript.