เมื่อสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายของสปีชีส์หนึ่งตายลง สปีชีส์นั้นก็ไม่มีอยู่อีกต่อไป และถือได้ว่าสูญพันธุ์
มีปัจจัยตามธรรมชาติหลายอย่างที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ เช่น การล่าหรือโรค
แต่ทุกวันนี้ น้ำมือมนุษย์ทำให้อัตราการสูญพันธุ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 1,000 เท่า จากการล่า การทำลายแหล่งอาศัย และภาวะโลกร้อน
สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ ไอยูซีเอ็น ได้จัดทำบัญชีแดง แสดงรายการสัตว์และพืชที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
บัญชีแดงถูกแบ่งย่อยออกเป็นหมวดหมู่ตามลำดับความเสี่ยง โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างจำนวนประชากร พื้นที่ และคุณภาพของแหล่งอาศัยของสปีชีส์เหล่านั้น
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในข่าย “เกือบเสี่ยง” หมายถึงสปีชีส์ที่มีแนวโน้มจะถูกคุกคามในอนาคต
สปีชีส์หมวดหมู่นี้ ได้แก่ วาฬเบลูกา ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกล่ามากเกินไป
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในข่าย “เกือบเสี่ยง”
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในข่าย “มีความเปราะบาง” หมายถึงว่ามีประชากรลดลง 50% ในช่วง 10 ปี หรือในช่วงเวลา 3 รุ่น
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในข่าย “มีความเปราะบาง”
สปีชีส์ในหมวดหมู่นี้ คือ นักล่าที่ยิ่งใหญ่อย่างฉลามขาว ซึ่งเป็นเหยื่อของการล่าเพื่อชิงถ้วยรางวัล และหมีขาวที่แหล่งอาศัยถูกทำลายเพราะภาวะโลกร้อน
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในข่าย ...
Please log in to view and download the complete transcript.