สัตว์หลายประเภทได้วิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงตนเองอย่างชาญฉลาดเพื่อการล่าเหยื่อ
หนึ่งในนั้นคือปลาไหลไฟฟ้า ที่พบได้บริเวณป่าเขตร้อนในอเมริกาใต้
ปลาไหลไฟฟ้า
ปลาไหลไฟฟ้า จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ปลาไหล มันคือปลากราย
อย่างไรก็ตาม มันเป็นความจริงตามชื่อที่ว่ามันสามารถสร้างไฟฟ้าเพื่อใช้ทำให้เหยื่อของมันสลบ โดยอาศัยอวัยวะไฟฟ้าชีวภาพสามส่วนในตัวของมัน
อวัยวะซาชส์
อวัยวะหลัก
อวัยวะที่ใช้ในการล่า
อวัยวะสามส่วนนี้สร้างขึ้นจากเซลล์ไฟฟ้าประมาณ 6,000 เซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์พิเศษที่มีลักษณะแบนเรียบ วางเรียงกันให้มีประจุตรงกันข้ามกันเรียงอยู่คนละด้านต่อๆ กันไปคล้ายกับถ่านไฟฉายทั่วไป
เซลล์ไฟฟ้า
เซลล์ไฟฟ้าเหล่านี้อยู่ในบริเวณส่วนหางของปลาไหล ซึ่งกินพื้นที่ประมาณสี่ในห้าส่วนของร่างกายมัน
ปลาไหลไฟฟ้าขนาดใหญ่ มีความสามารถสร้างแรงกระตุ้นไฟฟ้าพลังงานสูงมากกว่า 500 โวลต์ ซึ่งมากเพียงพอที่จะคร่าชีวิตมนุษย์
เมื่อปลาไหลเตรียมพร้อมที่จะจู่โจมเหยื่อของมัน ระบบประสาทจะกระตุ้นชุดคำสั่งที่ซับซ้อน เพื่อให้ปลายประสาทนับพันๆ สายที่ตรงเซลล์ไฟฟ้าถูกกระตุ้นให้ปล่อยประจุไฟฟ้าปริมาณมากพอพร้อมๆ กัน
ต่ปลาไหลต้องอาศัยน้ำ เพื่อให้วงจรไฟฟ้าสมบูรณ์และนำกระแสไฟฟ้าไปสู่เหยื่อของมัน
น้ำบริสุทธิ์ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้
สิ่งที่นำไฟฟ้าให้ไหลไปได้ คือความไม่บริสุทธิในน้ำ ไอออน เช่น เกลือ คลอรีน หรือ โซเดียม ที่ละลายอยู่ในน้ำ กระบวนการนี้เรียกว่า การนำไฟฟ้าด้วยไอออน
การนำไฟฟ้าด้วยไอออน
...Please log in to view and download the complete transcript.