การหาตำแหน่งด้วยเสียงสะท้อน
การหาตำแหน่งด้วยเสียงสะท้อนคือระบบการรับรู้ทางประสาทสัมผัสที่โลมา และสัตว์อื่นๆ ใช้ทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว
แม้ว่าโลมาจะมีการมองเห็นที่ชาญฉลาด แต่ความสามารถในการหาตำแหน่ง ด้วยเสียงสะท้อนก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อความอยู่รอด
ศาสตราจารย์โจเซฟ มอบเบลย์ มหาวิทยาลัยฮาวาย– “การรับรู้ทางประสาทสัมผัสส่วนใหญ่ของเราถูกกำหนดด้วยการมองเห็น เนื่องจาก แสงเดินทางในอากาศได้ดี แต่แสงเดินทางในน้ำได้ไม่ดีนัก ความจริงแล้ว เสียงเดินทางในน้ำได้เร็วเป็นห้าเท่าของการเดินทางในอากาศ ดังนั้นพวกสัตว์ทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจึงปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากการเดินทางระยะไกลของเสียงในน้ำทะเล ดังนั้น ผมคิดว่าคงไม่ผิดจากความเป็นจริงนัก หากจะบอกว่าพวกมันใช้เสียงในการมองเห็น”
การก่อกำเนิดเสียง
โลมาสร้างเสียงด้วยการเคลื่อนไหวของอากาศเข้าออกจากถุงลมสามคู่ที่อยู่ใต้ ช่องหายใจ
เสียงจะถูกโฟกัสและปล่อยออกมาทางเมลอนของมัน ซึ่งเป็นส่วนของหน้าผากที่ล้อมรอบด้วยไขมัน
ดร.อดัม แพค ห้องปฏิบัติการสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนม ฮาวาย – “โดยทั่วไป โลมาสร้างเสียงสองชนิด เสียงผิวปากที่อยู่ในช่วง 20 หรือ 30 กิโลเฮิรตซ์ เป็นคลื่นความถี่ต่อเนื่องหรือความถี่ปรับเปลี่ยน หมายความว่า เสียงมีการเปลี่ยนความถี่และใช้ในการสื่อสารระหว่างโลมาด้วยกัน โลมาใช้เสียงอีกประเภทหนึ่งในการหาตำแหน่ง เสียงสะท้อนนี้เป็นเสียงสั้นๆ คล้ายกับลูกคลื่นที่ระเบิดออกมา เสียงพวกนี้มีความถี่อยู่ในช่วงสองหรือสามไปจนถึง 120 หรือ 130 กิโลเฮิรตซ์”
การสื่อสาร = ไม่เกิน 30 กิโลเฮิรตซ์
การหาตำแหน่งด้วยเสียงสะท้อน = 2 ถึง 130 กิโลเฮิรตซ์
คลื่นเสียงเดินทางในน้ำแล้วสะท้อนกลับเมื่อชนกับวัตถุ
โลมารับเสียงสะท้อนกลับในขากรรไกร ซึ่งมีเนื้อเยื่อไขมันแบบพิเศษ ทำหน้าที่ถ่ายโอนการสั่นไปยังหูชั้นกลางและชั้นใน
แล้วส่งไปยังสมองเพื่อตีความ
เวลาที่เสียงความถี่ต่างๆ ใช้ในการสะท้อนกลับทำให้โลมาสามารถตีความสภาพแวดล้อมทางกายภาพรอบๆ ตัวได้ ทั้งยังสามารถทำให้มันหาปลาที่ซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นทรายได้อีกด้วย
การหาตำแหน่งด้วยเสียงสะท้อนสามารถแสดงถึง:ขนาดและรูปร่างของวัตถุ ระยะทาง อัตราเร็วและทิศทาง โครงสร้างภายใน
การใช้เสียงของปลาโลมามีความซับซ้อนและเป็นส่วนสำคัญในชีวิต ซึ่งช่วยนำทาง ล่าเหยื่อ และสื่อสารกันในสภาพแวดล้อมทางทะเลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา