เมืองปอร์โตแพรงซ์ ประเทศเฮติ
นี่คือเมืองปอร์โตแพรงซ์ ก่อนวันที่ 12 มกราคม ค.ศ.2010
ในวันนั้น ที่เกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ที่ประเทศเฮติ
ผู้คนหลายแสนคนเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บหรือสูญหาย
ความรุนแรงของแผ่นดินไหวทำลายเมืองบางส่วนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติมักจะเลวร้ายกว่าสำหรับประเทศที่อยู่ในกลุ่ม แอลอีซีดี หรือประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจน้อยกว่าเช่น ประเทศเฮติ
ผลกระทบโดยตรง
ผลกระทบโดยตรงของแผ่นดินไหวเกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือนและการบิดเบี้ยวของพื้นดิน
ซึ่งรวมถึงความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเช่น รอยแตกของพื้นโลก
และความเสียหายแก่สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น อาคารถล่ม
ความเสียหายต่อระบบคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร
และขัดขวางการใช้งานท่อน้ำและท่อก๊าซ
ในประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจน้อยกว่า หมู่บ้านและเมืองหลัก เช่น เมืองปอร์โตแพรงซ์ เป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น มีตึกที่สร้างไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งทำให้ได้รับผลกระทบโดยตรงที่เลวร้ายกว่าปกติ
บ้าน 97,000 หลังในประเทศเฮติถูกทำลายโดยแผ่นดินไหว
ผลกระทบสืบเนื่อง
ผลกระทบสืบเนื่องเกิดตามอย่างรวดเร็วหลังจากความเสียหายชั้นต้น
ซึ่งรวมถึงผลกระทบสืบเนื่องต่อภูมิประเทศทางธรรมชาติเช่น ไฟไหม้หรือดินถล่ม
และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเช่น มลพิษ
มีการปนเปื้อนในน้ำ
และมีการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ประเทศเฮติได้รับความเดือดร้อนจากการระบาดของอหิวาตกโรคและมีอุปกรณ์การแพทย์ที่จำกัด
นอกเหนือจากผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรงกว่าปกติ สำหรับประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจน้อยกว่า ประเทศเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดหลายด้านในการรับมือกับภัยพิบัติ
การรับมือในระยะสั้น
ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของประเทศเฮติทำให้การรับมือในตอนแรก
ไม่มีประสิทธิภาพ มีเพียงมือเปล่าและอุปกรณ์พื้นฐานเท่านั้นสำหรับการกู้ภัย
สิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ที่มีไม่เพียงพอก็ถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว...
และโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกทำลายในพื้นที่ ทำให้ระบบการคมนาคมขนส่งและการสื่อสารระส่ำระสาย
การรับมือในระยะยาว
การตอบรับกับการเกิดแผ่นดินไหวในระยะยาวรวมทั้งความช่วยเหลือ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยฟื้นฟูพื้นที่
แต่ในประเทศเฮติ เรือที่มาช่วยเหลือบางลำต้องกลับออกไปเพราะมีปัญหาความแออัดและปัญหาด้านการขนส่ง หรือปัญหาการจัดระบบการดำเนินงาน...
การฟื้นฟูและการก่อสร้างอาคารใหม่เป็นไปอย่างเชื่องช้า
แม้เวลาผ่านไปหกเดือนหลังจากเกิดแผ่นดินไหว 98% ของซากปรักหักพังยังไม่ถูกเคลื่อนย้าย
จากข้อมูลของกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าการประมาณการอย่างเป็นทางการถูกต้อง แผ่นดินไหวที่ประเทศเฮติ เป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์
มียอดผู้เสียชีวิตและความเสียหายที่มากกว่าปกติ เพราะประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจน้อยกว่ามีข้อจำกัดหลายด้านในการรับมือกับภัยพิบัติ