การสิ้นสุดยุคน้ำแข็งเมื่อ 12,000 ปีที่ผ่านมา นับเป็นจุดหักเหในวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของมนุษย์
ก่อนช่วงเวลา 12,000 ปีที่แล้ว มนุษย์ดำรงชีวิตแบบกลุ่มผู้ล่าสัตว์และไม่มีหลักแหล่ง
บรรพบุรุษของเราอยู่รอดโดยการเร่ร่อน ย้ายถิ่นไปในที่ต่างๆ เพื่อหาพืชและล่าสัตว์ในพื้นที่ที่กันดาร
เมื่อหมดยุคน้ำแข็ง สภาพแวดล้อมต่างๆ ดีขึ้น มีพืชมากมายสามารถเจริญได้ดี และเป็นโอกาสให้เกิดพืชชนิดใหม่ที่เป็นอาหารที่ดีของมนุษย์มากขึ้น
เหตุการณ์สำคัญหนึ่งคือ เมื่อข้าวสาลีป่าและหญ้าแพะธรรมชาติ ผสมข้ามพันธุ์ ได้ข้าวสาลีพันธุ์ลูกผสม เป็นข้าวสาลีเอมเมอร์ที่ช่อเต็มไปด้วยเมล็ด
สิ่งนี้เกิดขึ้นในดินแดนอันอุดมสมบูรณ์รูปพระจันทร์เสี้ยวของตะวันออกกลาง บริเวณโดยรอบเมืองเจริโค
นับเป็นครั้งแรกที่มนุษย์เริ่มปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวสาลีเอมเมอร์
เหตุการณ์ที่สอง คือข้าวสาลีเอมเมอร์ผสมข้ามพันธุ์กับหญ้าป่า ได้ลูกผสมพันธุ์ใหม่ คือ ข้าวสาลีสำหรับทำขนมปัง
แต่ข้าวสาลีพันธุ์นี้ ไม่สามารถกระจายพันธุ์โดยใช้ลมได้ จึงจำเป็นต้องมีการเพาะปลูก
ในดินแดนอันอุดมสมบูรณ์รูปพระจันทร์เสี้ยว พืชธรรมดาๆ นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น
กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเร่ร่อนสู่การตั้งหลักแหล่งถาวร
ซึ่งได้จุดประกายไปสู่การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ มนุษย์เริ่มนำดินเหนียวมาสร้างบ้านเป็นครั้งแรก
พร้อมกับการเพาะปลูกพืช มนุษย์เริ่มเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เช่น แพะและแกะ
เมื่อชุมชนขยายตัว การสื่อสาร ความคิดและเทคนิคต่างๆ จึงมีมากขึ้น และได้มีการประดิษฐ์คันไถและล้อเป็นครั้งแรก
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและเหตุบังเอิญในธรรมชาติ จึงทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรรม ...
Please log in to view and download the complete transcript.