ประชากรโลกกำลังเพิ่มขึ้นวินาทีละ 2 คน
แต่ครั้งหนึ่ง จำนวนประชากรโลกเคยคงที่
ขณะที่ประเทศต่างๆ พัฒนาขึ้น อัตราการเกิดและการตายเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถอธิบายได้ผ่านแบบจำลองการเปลี่ยนผ่านประชากร ซึ่งอธิบายถึง 5 ระยะ ของการพัฒนาในประเทศอุตสาหกรรม และผลกระทบต่อประชากรของประเทศหนึ่งๆ
ในระยะที่หนึ่ง ประชากรทั้งหมดมีจำนวนน้อย แต่มีความสมดุลระหว่างอัตราการเกิดและการตายที่สูง
อัตราการตายสูงเนื่องมาจากโรคภัยและการขาดแคลนอาหาร และเพราะการตายของทารกที่สูง จึงไม่มีแรงจูงใจที่จะควบคุมการเจริญพันธุ์
สถานการณ์นี้พบได้ทั่วโลกจนกระทั่งประเทศตะวันตกเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรม เมื่อปลายศตวรรษที่ 18
มีเพียงประชากรของกลุ่มเร่ร่อนและชนเผ่าพื้นเมืองเท่านั้นที่ยังคงอยู่ในระยะที่หนึ่ง
ในระยะที่สอง ประชากรเพิ่มขึ้นเพราะอัตราการตายลดลง ในขณะที่อัตราการเกิดยังคงสูง
การปรับปรุงเรื่องการจัดหาอาหาร แหล่งน้ำสะอาด และระบบระบายน้ำทำให้คนตายน้อยลง
และเพราะว่าการตายของทารกลดลง ประชากรจึงมีอายุเฉลี่ยลดลง
ในระยะที่สาม ประชากรยังคงเพิ่มจำนวนขึ้น แต่อัตราการเกิดลดลงไปใกล้กับอัตราการตายที่ลดลง
พ่อแม่มีความมั่นใจว่าลูกจะรอดชีวิต และการอาศัยในเมืองหมายถึงการเลี้ยงดูบุตร ต้องใช้เงินมาก
การมียาคุมกำเนิดให้ใช้ และการที่ผู้หญิงสามารถเข้าสู่การศึกษาและอาชีพพ่อแม่จึงเลือกที่จะมีลูกน้อยลง
ถึงระยะที่สี่ ประชากรอยู่ในระดับสูง แต่คงที่ ด้วยทั้งอัตราการเกิดและการตายต่ำ
การคุมกำเนิดมีอยู่อย่างแพร่หลาย และมีความต้องการที่จะมีครอบครัวขนาดเล็ก
ถ้าการเจริญพันธุ์ลดลงในระดับที่ต่ำพอ ประเทศจะเข้าสู่ระยะที่ห้า ...
Please log in to view and download the complete transcript.