สำนักงานใหญ่เอนรอน
เทกซัส สหรัฐอเมริกา
บริษัทด้านพลังงาน เอนรอน ได้รับการยกย่องให้เป็นบริษัทสุดยอดแห่งนวัตกรรม
ของอเมริกา 6 ปี ติดต่อกัน
แต่กลยุทธ์การทำกำไรที่เข้มข้น เปิดช่องให้พนักงานทำตัวเหมือนเป็นคู่แข่งของกันและกัน
หนึ่งในบรรดานโยบายที่โหดร้ายที่สุดของเอนรอน รู้จักกันในนาม ‘ไต่ลำดับ หรือ โดนเขี่ย’
แองเจลีนา โลโรว อดีตพนักงานของเอนรอน – “ถ้ามีการจัดลำดับพนักงาน หากคุณมีผลงานอยู่ในลำดับ 20% แรกของจำนวนพนักงานทั้งหมด คุณจะได้โบนัสอย่างงดงาม และได้เลื่อนขั้น แต่หากคุณรั้งอยู่ในลำดับ 20% ท้าย คุณก็จะมีโอกาสถูกให้ออกจากงานซึ่งหมายถึงคุณถูก ‘เขี่ย’”
ความถี่สะสม
วิธีหนึ่งที่จะทราบว่าพนักงานมีลำดับอย่างไร จะใช้กราฟความถี่สะสม
ตารางนี้แสดงถึงตัวอย่างสมมติของพนักงานที่ถูกจัดลำดับตามกำไรที่เขาทำได้
พนักงานจะถูกจัดเป็นกลุ่มๆ ตามกำไรที่ทำได้
ความถี่สะสมจะบันทึกความถี่รวมไปเรื่อยๆ จนถึงกำไรสูงสุดของกลุ่มนั้นๆ
เนื่องจากกลุ่มของข้อมูลจะถูกนำมารวมกัน ค่าที่ได้จึง ‘สะสมเพิ่มขึ้น’
เมื่อนำข้อมูลมาแสดงบนกราฟ ข้อมูลจะให้กราฟเป็นเส้นโค้งรูปตัว S
กราฟนี้ถูกนำมาใช้ในการพิจารณาว่าพนักงานจะได้รางวัล หรือ จะถูกไล่ออก
“ในแต่ละปี คุณมีสิ่งนี้ที่ต้องตั้งหน้าตั้งตาดู และมันเป็นช่วงเวลาที่เครียดมาก เพราะคุณจะไม่รู้เลยว่าคุณจะมีงานทำ หรือ… คุณรู้มั้ย คุณไม่มีทางรู้เลย”
พนักงานทั้งหมดมีอยู่ 3,000 คน
พนักงานสามารถบอกได้ว่าผลงานของตนอยู่เหนือค่าเฉลี่ยหรือไม่ โดยการหาค่ามัธยฐาน
มัธยฐาน = ค่ากลาง
ในกรณีนี้ กำไรที่ได้จากพนักงานคนที่ 1,500
หากสมมติว่า พนักงานทำกำไรให้บริษัทเกิน 2.5 ล้านดอลล่าร์ พนักงานเหล่านั้นก็จะอยู่เหนือค่าเฉลี่ย
โดยวิธีเดียวกัน เขาสามารถหาค่าที่เป็นตัวบอกถึง 20%แรกและท้าย
ในตัวอย่างสมมตินี้ 80% หรือพนักงาน 2,400 คนทำกำไรให้บริษัท รวมเป็นเงิน 3.5 ล้านดอลล่าร์
ถ้าคุณทำกำไรรวมได้มากกว่านี้ คุณก็จะได้รับรางวัล
แต่ถ้ารายได้รวมสะสมที่คุณทำได้ ต่ำกว่าพนักงาน 600 คนทำรวมไว้ คุณจะอยู่ใน 20 เปอร์เซ็นต์ท้าย นั่นก็คือทำกำไรสะสมให้บริษัทโดยรวมต่ำกว่า 1.5 ดอลลาร์ คุณจะถูกไล่ออก
แน่นอนว่า พนักงานของเอนรอนถูกประเมิน มากกว่ารายได้ที่เขาสร้างให้บริษัท
แต่นโยบายไต่ลำดับ หรือถูกเขี่ย สร้างกระแสวัฒนธรรมการแข่งขันที่สุดขั้ว และมีความเสี่ยงสูง
และในปี ค.ศ.2001 บริษัทก็ล้มลง