ปฏิกิริยาเคมีมีความเกี่ยวข้องกับสารใหม่ซึ่งเกิดจากการชนกันของอนุภาคเสมอ
ในทุกๆ วินาที เกิดการชนกันของอนุภาคเป็นล้านล้านครั้ง
แต่ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออนุภาคที่ชนกันนั้นมีพลังงานที่เพียงพอ
พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้ เรียกว่า พลังงานกระตุ้น
มีเพียงอนุภาคที่มีพลังงานอย่างน้อยปริมาณนี้เท่านั้น ที่สามารถเกิดปฏิกิริยาได้สำเร็จ เมื่อมันชนกัน
เมื่อจำนวนการชนที่เกิดปฏิกิริยามีมากขึ้นในหนึ่งวินาที อัตราการเกิดปฏิกิริยาก็จะสูงขึ้นด้วย
มีปัจจัยมากมาย ที่มีผลต่อความถี่ในการชนกันของอนุภาค หรือพลังงานของมัน ดังนั้น ย่อมส่งผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาด้วย
หากอุณหภูมิของปฏิกิริยาสูงขึ้น อนุภาคสารตั้งต้นจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น จำนวนการชนกันต่อวินาทีก็จะเพิ่มขึ้น
ที่สำคัญกว่านั้น อุณหภูมิสูงขึ้นย่อมหมายถึง อนุภาคที่มีพลังงานสูงกว่าพลังงานกระตุ้น มีปริมาณมากขึ้นด้วย
ดังนั้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจำนวนครั้งการชนที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา ใน 1 วินาที จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อก๊าซเกิดปฏิกิริยา หากความดันสูงขึ้น อนุภาคสารตั้งต้นจะหนาแน่นมากขึ้น
ทำให้โอกาสการชนกันเพิ่มขึ้น ดังนั้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจึงสูงขึ้น
และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารละลาย เช่น กรดไฮโดรคลอริก ทำให้มีอนุภาคของสารตั้งต้นมากขึ้นในปริมาตรเท่าเดิม อัตราการชนกันในหนึ่งวินาทีจึงสูงขึ้น
ปัจจัยสําคัญอีกประการที่ช่วยเร่งการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือการเติมสารที่เรียกว่า ตัวเร่งปฏิกิริยา
ในปฏิกิริยานี้ ก๊าซไฮโดรเจนและไนโตรเจนรวมตัวกันเกิดเป็นแอมโมเนีย
ฝอยเหล็ก ถูกเติมลงไปในฐานะตัวเร่งปฎิกิริยา
...Please log in to view and download the complete transcript.