น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์โลก
แต่มีผู้คนมากมายอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ ประกอบกับปัญหาประชากรล้นโลก น้ำจืดและสะอาดจึงเริ่มที่จะหายากขึ้นเรื่อยๆ
แต่วิทยาศาสตร์มีทางออกให้กับปัญหานี้ คำตอบอาจจะอยู่ที่อะไรสักอย่างเหนือศีรษะเรา
ดร.ดีออน เทอร์บลานซ์ ผู้เชี่ยวชาญการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ–“เมฆฝนหนึ่งก้อนโดยเฉลี่ยมีน้ำฝนประมาณ 8 ล้านตัน ดังนั้นจึงมีปริมาณน้ำมากมายในท้องฟ้า และการทำฝนเทียมคือทางออกสำหรับความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก”
การทำฝนเทียม คือกระบวนการที่กระตุ้นโมเลกุลของน้ำที่ทำให้เกิดก้อนเมฆ เพื่อที่จะทำให้เกิดฝน
ฝนเทียม เกิดจากการกระตุ้นฝนจากก้อนเมฆ
ในการเริ่มกระบวนการสร้างฝนเทียม สารประกอบอนินทรีย์ ที่เรียกว่า ซิลเวอร์ไอโอไดด์ ถูกปลดปล่อยไปสู่ก้อนเมฆโดยเครื่องบิน
ซิลเวอร์ไอโอไดด์
เพราะว่าโครงสร้างของมันคล้ายกับโครงสร้างของน้ำแข็งมาก เมื่อมันอยู่ในก้อนเมฆ ซิลเวอร์ไอโอไดด์ จะกระตุ้นโมเลกุลของน้ำให้แข็งตัว
โมเลกุลของน้ำที่เย็นจัดจะจับตัวกับ ซิลเวอร์ไอโอไดด์ และแข็งตัว เกิดเป็นน้ำแข็ง
ซึ่งในที่สุดจะตกจากท้องฟ้า หลอมละลายไปเป็นหยดน้ำ
การโปรยสารเคมีสู่ก้อนเมฆ:ซิลเวอร์ไอโอไดด์ กระตุ้นการแข็งตัว เกิดผลึกน้ำแข็ง อนุภาคหนักตกและละลาย
การทำฝนเทียมถูกใช้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำฝนสำหรับการเกษตร
กระบวนการนี้ยังถูกใช้เพื่อป้องกันสภาพอากาศบางอย่าง ตัวอย่างเช่น การทำฝนเทียมกำจัดหมอก ซึ่งจะใช้ที่สนามบินทั่วโลก
ดร.โรเอลอฟ บรูอินท์เยส ศูนย์วิจัยชั้นบรรยากาศแห่งชาติ –“ในช่วงเวลาที่เราสนทนากันอยู่นี้ มากกว่า 47 ...
Please log in to view and download the complete transcript.