แบบจำลองสภาพภูมิอากาศ
ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ค็อกซ์ ศูนย์ศึกษานิเวศวิทยาและอุทกวิทยา สหราชอาณาจักร– “การจำลองสภาพภูมิอากาศพัฒนามาจากแบบจำลองการพยากรณ์อากาศ มันเป็นการจำลองในช่วงระยะเวลาที่นานขึ้น เป็นเวลาหลายร้อยปี ไม่ใช่แค่หลายวัน มันมีความซับซ้อนและมีองค์ประกอบครบทุกด้าน มันรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับก้อนเมฆ รูปแบบการตกของฝน รวมถึงกระแสลมด้วย นอกจากนี้ ในแบบจำลองยังรวมเอาปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ด้วย เช่น การตอบสนองของการเติบโตของพืชและดินที่มีต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป และการเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทร”
การสร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศมีความซับซ้อนมาก เนื่องจากมันมีปัจจัยมากมายที่เกี่ยวข้อง
แบบจำลองสภาพภูมิอากาศ:คำนวณความน่าจะเป็นของอุบัติการณ์ทางภูมิอากาศในอนาคต
จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากในการประมวลผล
ทฤษฎีไร้ระเบียบ
แต่เป็นไปไม่ได้ที่เราจะนำทุกปัจจัยมาพิจารณา เพราะแม้เพียงปัจจัยบางอย่างที่มีขนาดเล็กมากเพียงเท่าปีกผีเสื้อ ก็อาจทำให้อากาศเคลื่อนไหวได้ ซึ่งในท้ายที่สุด อาจจะก่อให้เกิดพายุขนาดใหญ่ ในพื้นที่ที่ห่างออกไปหลายพันไมล์
ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก หรือทฤษฎีไร้ระเบียบ
ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก หรือ ทฤษฎีไร้ระเบียบ:ความแตกต่างเล็กน้อยที่ปรากฏในเงื่อนไขเริ่มต้น
ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมาก
จากตัวแปรเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่สามารถคำนวณได้เหล่านี้ หมายความว่า ผลลัพธ์จากการจำลองแต่ละครั้งจะแตกต่างกันไป
แต่ก็ยังพอมีความหวังอยู่ เมื่อมีการจำลองซ้ำๆ ก็จะได้ผลลัพธ์ที่มีแนวโน้มที่เสถียรมากขึ้น
แต่ปัญหาก็คือ เราจะหาคอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพสูงพอ ที่จะทำงานซ้ำๆ ได้หลายพันครั้งได้อย่างไร
...Please log in to view and download the complete transcript.