แม้ว่าในภาษาจีนจะมีตัวเลขปรากฏอยู่มานานหลายพันปีแล้วก็ตาม แต่มีการบันทึกตัวเลขเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อประมาณ 1,500 ปี ก่อนคริสตกาล
หรือเกือบ 2,000 ปีหลังจากที่ตัวเลขเหล่านั้นได้ถูกบันทึกไว้ในดินแดนเอเชียตะวันตก
แม้ว่าการเริ่มต้นของพวกเขาค่อนข้างช้า แต่นักปราชญ์ชาวจีนได้มีการค้นพบ
ทางคณิตศาสตร์ต่างๆ อย่างรวดเร็ว
และแม้ว่าพวกเขาจะคิดอย่างเป็นอิสระต่อกัน แต่บ่อยครั้งก็ได้ข้อสรุปที่คล้ายคลึงกันกับข้อสรุปในอีกซีกหนึ่งของโลก และในหลายกรณีพวกเขาก็เป็นผู้ค้นพบก่อน
ปริศนา ‘ลอชู (Lo Shu)’ ของจีน คือตารางที่มีการจัดเรียงตัวเลขในรูปแบบพิเศษ
ลอชู
เมื่อบวกเลขขึ้นในแต่ละแถวตามแนวนอน แนวตั้ง และแนวทแยงจะได้คำตอบเดียวกัน
ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า เมจิกสแควร์ หรือตารางมหัศจรรย์ ตารางนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในประเทศตะวันตก ราวปี ค.ศ.100
แต่เหมือนกับว่ามันถูกนำมาจากประเทศจีน เมื่อ 2,000-3,000 ปีก่อน
กฎโกวกู (Gougu Rule)
เมื่อย้อนเวลากลับไป 300 ปี ก่อนคริสตกาล ตำราทางคณิตศาสตร์โบราณของจีน ได้บันทึก กฎโกวกู (Gougu) ไว้
ซึ่งได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ และด้านของสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสามเหลี่ยม
นักคณิตศาสตร์ชาวจีนได้ใช้ทฤษฎีของพีทาโกรัสนานนับร้อยปีก่อนที่พีทาโกรัสจะเกิดเสียอีก
พาย (π)
นักคณิตศาสตร์ชาวจีนค้นพบ พาย โดยไม่เกี่ยวข้องกับการค้นพบของชาวตะวันตก แม้ว่าจะไม่ได้พบก่อนก็ตาม
แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 นักคณิตศาสตร์ชื่อ จูชองจือ (ZuChongzhi) ได้คำนวณหาค่า พาย ถึงทศนิยมเจ็ดตำแหน่ง
และมันกลายเป็นการคำนวนที่แม่นยำที่สุดนับพันปีต่อมา
สามเหลี่ยมของหยางฮุย (Yang Hui)
ในปี ค.ศ.1300 สามเหลี่ยมของหยางฮุย (Yang Hui) ได้เปิดเผยรูปแบบการจัดเรียงตัวเลขแบบสามเหลี่ยม โดยตัวเลขด้านในคือผลรวมของเลขสองตัวด้านบน
ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนามของ สามเหลี่ยมปาสคาล โดยการค้นพบของนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ แบลซ ปาสคาล
แม้ว่าผลงานของเขาจะยังไม่ได้ตีพิมพ์จนกระทั่งศตวรรษที่ 17 ก็ตาม
หลักฐานที่ดีที่สุดถึงความยิ่งใหญ่ทางคณิตศาสตร์ของชาวจีนอยู่ในสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่งของพวกเขา
เช่น กำแพงเมืองจีน ซึ่งจะไม่สามารถสร้างได้หากปราศจากวิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนโดยชาวจีนเอง