น้ำแข็ง น้ำ และไอน้ำ
ทั้งหมดนี้ประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำเหมือนกัน แต่ต่างสถานะกัน
ไม่มีความแตกต่างทางเคมีระหว่างสสารเหล่านี้ เพียงแค่การจัดเรียงตัวทางกายภาพของโมเลกุลเท่านั้นที่แตกต่างกัน
น้ำเป็นตัวอย่างที่เราคุ้นเคย แต่สสารเกือบทุกชนิดสามารถอยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซได้ เพียงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ
ของแข็ง
เมื่อให้พลังงานความร้อนแก่ของแข็ง อนุภาคจะสั่นรุนแรงขึ้น ในที่สุด เมื่อได้รับพลังงานมากพอ พวกมันจะแยกออกจากกันและเคลื่อนที่อย่างอิสระ กลายเป็นของเหลว การเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่าการหลอมเหลว
การหลอมเหลว = ของแข็งเปลี่ยนเป็นของเหลว
สารบริสุทธิ์ทุกชนิดจะมีอุณหภูมิที่คงที่ค่าหนึ่งที่สารเกิดการหลอมเหลว เรียกว่าจุดหลอมเหลว
โลหะแกลเลียมหลอมเหลวที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ดังนั้นความร้อนจากมือของเราก็เพียงพอที่หลอมเหลวมันได้
ในขณะที่จุดหลอมเหลวของน้ำคือ 0 องศาเซลเซียส
เนื่องจากการหลอมเหลวเกิดขึ้นที่อุณหภูมิคงที่ค่าหนึ่ง สสารจะรักษาอุณหภูมิค่านี้จนกระทั่งของแข็งกลายเป็นของเหลวทั้งหมด
ดังนั้นอุณหภูมิของน้ำบริสุทธิ์จึงยังเป็น 0 องศาเซลเซียส ถึงแม้ว่าจะยังเหลือน้ำแข็งอยู่เป็นจำนวนมาก
ของเหลว
การให้ความร้อนกับของเหลว จะทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ได้เร็วมากขึ้น เมื่อมีพลังงานมากพอ อนุภาคบางส่วนที่อยู่ใกล้ผิวของเหลว จะเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวและหลุดออกมาได้กลายเป็นก๊าซ
เรียกว่า การระเหย
การระเหย = ...
Please log in to view and download the complete transcript.