เราอยู่ในโลกของปริภูมิสามมิติ
ว่าแต่ว่า ปริภูมิสี่มิติมันจะมีหน้าตาอย่างไรนะ?
มันค่อนข้างยากในการแสดงให้ดูด้วยรูป แต่สามารถบรรยายเป็นภาษาง่ายๆ ได้ว่า มิติที่สี่เป็นมิติที่เข้าถึงได้โดยการเดินทางที่เป็นมุมฉากกับปริภูมิสามมิติ
จะเห็นได้ว่า การจินตนาการมิติที่สี่นั้นไม่ง่ายเลยทีเดียว
การกำหนดมิติ
แต่เหมือนอย่างที่เทคโนโลยีทันสมัยที่ช่วยจำลองปริภูมิสามมิติจากภาพสองมิติได้ แบบจำลองคอมพิวเตอร์ก็ช่วยนักคณิตศาสตร์ในการจินตนาการปริภูมิสี่มิติได้เช่นกัน
จำนวนมิติในปริภูมิเป็นตัวกำหนดว่าจำนวนพิกัดของจุดจุดหนึ่งในปริภูมิควรจะเป็นเท่าไหร่
ในหนึ่งมิติ มีเพียงแค่พิกัดเดียวเท่านั้นที่ต้องการ
ดังนั้น เส้นตรงจะถูกนับว่าเป็นหนึ่งมิติเพราะต้องการแค่พิกัด x ในการกำหนดจุดเท่านั้น
ในสองมิติ พิกัด x และ y แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งตามแนวตั้งและแนวนอนของจุดหนึ่งจุด
ในสามมิติ พิกัดสามตัว คือ x y และ z จะบอกถึงความลึกของแต่ละพิกัด
นักคณิตศาสตร์จึงใช้ พิกัด w x y และ z ในการระบุปริภูมิสี่มิติ
เส้นตรงหนึ่งมิตินั้นมีจุดชัดเจนสองจุดที่ตรงปลาย
ในจตุรัสสองมิติจะมีจุดชัดเจนอยู่สี่จุด และลูกเต๋าสามมิติจะมีจุดชัดเจนทั้งหมดแปดจุด
ดังนั้น ตามลำดับนี้ พอจะบอกได้ว่าวัตถุสี่มิติจะมีจุดชัดเจน 16 จุด ซึ่งเกิดจากเส้นตรงมาชนกันและเรียกว่า จุดยอด
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ ไฮเพอร์คิวบ์ ที่เรียกว่า เทสซีแรค ซึ่งจะมีจุดยอด 16 จุด มี 24 หน้าและ 32 ขอบ
เทสซีแรค
ขอบทุกขอบเป็นเส้นตรง และมุมทุกมุมที่เชื่อมระหว่างสองขอบจะเป็นมุมฉาก ซึ่งยากที่จะวาดออกมาเป็นรูปสองหรือสามมิติ
แต่สถาปนิกก็ยังไม่หยุดความพยายามในการสร้างรูปธรรมชาติสี่มิติที่เป็นนามธรรมนี้
อาคาร ลากรองด์ อาร์ก เดอ ลา เดฟองส์
ปารีส ฝรั่งเศส
ในกรุงปารีส อาคารลากรองด์ อาร์ก ถูกสร้างขึ้นโดยลอกเลียนลักษณะรูปทรงของ
เทสซีแรค
มันเป็นสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นที่พอจะเป็นตัวแทนของโลกสี่มิติ