“...ห้าหัวใจ สิบดอกจิก เจ็ดดอกจิก...
...หนึ่งโพดำ และก็ สิบข้าวหลามตัด และ สี่ข้าวหลามตัด”
“ว้าว” “น่าประทับใจจริงๆ!”
สำหรับบางคนแล้ว การจดจำไพ่บ่งชี้ถึงความฉลาด
สำหรับคนอื่น มันคือความรวดเร็วในการไขปริศนา
แต่บ่อยครั้งที่เราเห็นไม่ตรงกันว่า จะวัดความฉลาดอย่างไร
ระดับความฉลาด
ระดับความฉลาด (Intelligence Quotient) หรือ IQ คือคะแนนที่ได้จากการทดสอบความเฉลียวฉลาดหลากหลายประเภท เช่น ความจำ หรือการแก้ปัญหา
เข้าใจกันว่า ข้อสอบ IQ เป็นตัวชี้วัดมาตรฐานสากลของความเฉลียวฉลาด
คะแนน IQ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่หนึ่งร้อย และข้อสอบก็มีการปรับให้เหมาะสมกับแต่ละวัย
แต่บรรดานักวิจารณ์ได้เตือนว่าข้อสอบอาจจะมีความเอนเอียง
คนที่ออกข้อสอบอาจมีแนวคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากคนที่ทำข้อสอบ
การออกข้อสอบให้เหมาะสมกับทุกๆ คนอย่างเท่าเทียมกันนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
ศาสตราจารย์บ๊อบ สเติร์นเบิร์ก นักจิตวิทยาการรู้คิด สหรัฐอเมริกา – “หากคุณลองนึกถึง เด็กๆ ที่เติบโตในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากหรือมีความท้าทาย และทักษะที่พวกเขาต้องพัฒนาก็คือทักษะภาคปฏิบัติเพื่อความอยู่รอด และทักษะเชิงสร้างสรรค์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในสภาพแวดล้อมของพวกเขา”
ดังนั้น ในขณะที่เด็กบางคนพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ เด็กคนอื่นๆ อาจพัฒนาทักษะภาคปฏิบัติ
เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาแต่ละคนจะมีความเฉลียวฉลาดในแบบที่ต่างกัน ซึ่งยากต่อการวัดและเปรียบเทียบ
เชิงปริมาณ เทียบกับ เชิงคุณภาพ
ข้อสอบ IQ เป็นความพยายามที่จะประยุกต์ใช้ ค่าเชิงตัวเลขและปริมาณกับความฉลาด
เชิงปริมาณ:ระบุโดยใช้ปริมาณหรือตัวเลข
เชิงคุณภาพ:ระบุโดยใช้คุณสมบัติที่ไม่ใช่ตัวเลข
แต่ทว่านักวิจารณ์ โต้แย้งว่าปัจจัยเชิงคุณภาพ เช่น ความฉลาดทางอารมณ์หรือ ความคิดสร้างสรรค์ ได้ถูกมองข้ามไป
ข้อกล่าวหาเรื่องความลำเอียงทางด้านวัฒนธรรม เชื้อชาติ และเพศก็ได้รับการเพ่งเล็งในข้อสอบ IQ
ดังนั้น แม้ข้อสอบ IQ อาจชี้วัดความฉลาดประเภทหนึ่ง ความเที่ยงตรงของมันยังยากที่จะพิสูจน์
บางส่วนเป็นเพราะว่าความเฉลียวฉลาดนั่นเอง ที่ยากจะให้คำจำกัดความได้