ภาคตัดขวางของสมอง
แผนภาพของสมองมนุษย์
การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง
การตรวจเอ็มอาร์ไอของสมองมนุษย์
การตรวจเอ็มอาร์ไอ
ปุ่มรับรส
การสัมผัส
นกอินทรีใหญ่หัวสีขาว
ตา
การได้ยิน
ส่วนประกอบหลักของสมอง (มีข้อความประกอบ)
ส่วนประกอบหลักของสมอง (ไม่มีข้อความประกอบ)
ภาคตัดขวางของหู (มีข้อความประกอบ)
ภาคตัดขวางของหู (มีข้อความประกอบ)
สมองของเรา สามารถเปลี่ยนระดับความรู้สึกเจ็บปวดได้หรือไม่?
ศาสตราจารย์โทนี ดิคเคนสัน ได้ทำการทดลองโดยใช้การช็อตด้วยไฟฟ้า
ถ้าเราคิดไปก่อนว่าสิ่งนี้ต้องทำให้เราเจ็บ เราจะรู้สึกเจ็บมากขึ้นใช่หรือไม่ ?
ครึ่งหนึ่งของอาสาสมัครรับประทานยาเม็ดที่ผู้ทำการทดลองได้บอกพวกเขาว่า ฤทธิ์ของยาจะทำให้พวกเขารู้สึกเจ็บมากขึ้น
ยาเม็ดสีน้ำตาล – ทำให้คาดว่าจะรู้สึกเจ็บมากขึ้น
จริงๆ แล้วมันคือ ก้อนน้ำตาล. วกเขารู้สึกเจ็บปวดแม้จะปล่อยกระแสไฟฟ้าในระดับต่ำ เพราะพวกเขาคิดไปก่อนแล้วว่า โดนไฟฟ้าช็อตจะต้องเจ็บ
อาสาสมัครที่เหลือได้รับน้ำตาลหนึ่งเม็ดเช่นเดียวกัน แต่คราวนี้ผู้ทำการทดลองบอกว่าเป็นยาระงับความเจ็บปวด
ยาเม็ดสีเหลือง – ทำให้คาดว่าจะรู้สึกเจ็บน้อยลง
พวกเขาแทบจะไม่รู้สึกอะไรเลย เมื่อถูกช็อตด้วยไฟฟ้าในระดับต่ำ และแม้ว่าจะปรับระดับกระแสไฟฟ้าให้สูงขึ้นมาก พวกที่เชื่อว่าได้รับยาระงับปวดก็ยังทนได้
สรุปได้ว่า ยาทำให้พวกเขารู้สึกเจ็บปวดน้อยลงนั้นใช้ได้ผล
แต่อาสาสมัครที่คิดว่าพวกเขาได้รับยากระตุ้นความเจ็บปวดมีการตอบสนองแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
พวกเขารู้สึกว่าเจ็บมากขึ้นจริงๆ
ศาสตราจารย์โทนี ดิคเคนสัน มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน – “เราแสดงให้เห็นว่าการคิดไว้ก่อนล่วงหน้า มีผลชัดเจนต่อระดับความรู้สึกเจ็บปวด
ของคนทั้งสองกลุ่ม ในกลุ่มที่คิดว่าได้รับยาระงับความเจ็บปวด พวกเขาสามารถทน การช็อตด้วยไฟฟ้าได้ในระดับที่สูงกว่ามาก แต่ในอีกกลุ่มหนึ่งที่คิดว่าพวกเขา ได้รับยากระตุ้นความเจ็บปวด พวกเขาบอกให้หยุดการช็อตไฟฟ้าตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการปรับเพิ่มระดับไฟฟ้า”
ทั้งหมดนี้จึงขึ้นอยู่กับพลังของการคาดคิดล่วงหน้า ถ้าคุณคิดว่ามีบางสิ่งจะทำให้คุณรู้สึกเจ็บ มันจะทำให้คุณรู้สึกเจ็บจริงได้แน่ๆ
...Please log in to view and download the complete transcript.