ลายมือของคุณไม่สวย ใช่หรือไม่?
รู้สึกยากที่จะมีสมาธิ?
หรือมีปัญหากับการอ่าน?
น่าประหลาดใจที่แพทย์คนหนึ่งเชื่อว่า การรับประทานน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมอาจช่วยพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้
แต่วิธีการเก็บข้อมูลจากการสำรวจ กลับไม่ส่งผลดีต่อผลการทดลองของเธอ
การทดลองเดอร์แรม
ในปี ค.ศ. 2003 แพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ แมเดลีน พอร์ทวูด ต้องการค้นหาคำตอบว่า การรับประทานน้ำมันปลาจะช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กได้หรือไม่
น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 ซึ่งเชื่อกันมานานแล้วว่ามีความเกี่ยวโยงในทางบวกกับการทำงานและพฤติกรรมของสมอง
“เริ่มได้”
เธอได้ประเมินระดับ การอ่าน การเขียน และสมาธิของเด็ก 300 คน
150 คนจากจำนวนนั้น ได้รับน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริม
อีก 150 คนได้รับ ยาปลอมที่มีกลิ่นคาวปลา
นักเรียนได้รับอาหารเสริมเป็นเวลาหนึ่งเดือน และถูกประเมินอีกครั้งหนึ่ง
ดร. แมเดลีน พอร์ทวูด – “ให้ลองนึกถึงตอนที่เธอเคยเป็นก่อนที่จะเริ่มทานยาแคปซูล เธอเรียนได้เป็นอย่างไรบ้างตอนอยู่ที่โรงเรียน?”
แมทธิว – “เอ่อ ผมก็คงทำงานไม่ค่อยเสร็จเท่าไหร่”
“แล้ว มันแตกต่างมั้ยในตอนนี้?”
“ครับ”
“เธอรู้สึกอยากทำงานงั้นหรือ?”
“ผมอยากจะทำให้มันให้เสร็จทั้งหมดเลย”
ดร. แมเดลีน พอร์ทวูด นักจิตวิทยาการศึกษา – “ก่อนเริ่มการทดลอง แมทธิว อธิบายตัวเขาเองไว้ว่า เป็นเด็กที่มีปัญหาเรื่องสมาธิ ไม่สามารถทำงานให้เสร็จ และมักจะมีปัญหาเกือบตลอดเวลา และเป็นแบบนี้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ตั้งแต่ที่เขาได้รับประทานอาหารเสริม เขาอธิบายตัวเขาเองว่าแตกต่างไปจากเดิมมาก เขาสามารถทำงานเสร็จ มีสมาธิดีขึ้น และสามารถใส่ใจในรายละเอียดได้ดีขึ้น”
แล้วอาหารเสริมจากน้ำมันปลา ได้ให้คำตอบวิเศษที่ดร.พอร์ทวูดได้หวังไว้หรือไม่?
ความเอนเอียงจากการสังเกตการณ์
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า เด็ก 40% ที่ได้รับอาหารเสริมมีพัฒนาการดีขึ้น
แต่เป็นไปได้หรือไม่ว่า การที่เด็กถูกศึกษาอยู่นั้น ทำให้ผลการทดลองเอนเอียง?
เด็กอาจจะบิดเบือนผลการทดลองโดยที่ไม่รู้ตัว
พวกเขาอาจพยายามมากขึ้น เพื่อทำให้ผู้ทดสอบพึงพอใจ
หรืออาจเป็นแค่พวกเขาพูดเกินจริงเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขารู้สึกต่ออาหารเสริม
ประเด็นพื้นฐาน คือกระบวนการง่ายๆ ในการเฝ้าสังเกตพฤติกรรม อาจมีผลอันใหญ่หลวงต่อผลลัพธ์ได้
นี่คือเหตุผลว่าทำไม การศึกษาจึงมักทดสอบด้วยยาปลอมด้วย
ในกรณีของการทดลองเดอร์แรม เด็ก 150 คนที่รับยาปลอม แทบไม่แสดงถึงพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นเลย ถึงแม้จะถูกเฝ้าสังเกต
นี่จึงชี้ให้เห็นว่า อัตราความสำเร็จที่ 40% ของดร.พอร์ทวูดนั้นมีนัยสำคัญ
แต่การเชื่อมโยงใดๆ ระหว่างอาหาร และการทำงานของสมองน่าจะมีความซับซ้อนสูงมาก
การศึกษาอีกมากเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อพิสูจน์ว่าน้ำมันปลาทำให้เกิดผลที่สามารถสรุปได้อย่างแน่นอน