เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว มีการทดลองที่น่าสนใจมาก เพื่อศึกษาว่าการผสมพันธุ์ของสัตว์มีผลต่อพฤติกรรมของสัตว์อย่างไร
ในปีค.ศ.1959 นักวิทยาศาสตร์ชาวไซบีเรียน ได้เริ่มโครงการผสมพันธุ์สัตว์ 2 โปรแกรม โดยใช้สุนัขจิ้งจอกสีเงิน
การทดลองแรก เพื่อศึกษาความยากง่ายในการเลี้ยงสุนัขจิ้งจอกให้เป็นสุนัขบ้าน
นักวิทยาศาสตร์ได้คัดเลือกสุนัขจิ้งจอกที่เชื่องที่สุดและทำการผสมพันธุ์
ในแต่ละรุ่น มีเพียงสุนัขจิ้งจอกที่เชื่องที่สุดที่ได้รับการผสมพันธุ์ต่อ
เมื่อผ่านไปหลายรุ่น พฤติกรรมก้าวร้าวเริ่มหายไป
ดร.ลียุดมิลา ตรุด สถาบันพันธุศาสตร์ ไซบีเรีย – "การเปลี่ยนแปลงปรากฏชัดในรุ่นที่แปด เมื่อสุนัขจิ้งจอกเริ่มเข้าหามนุษย์และแสดงความรักกับเรา สิ่งที่น่าทึ่งคือลูกสุนัขจิ้งจอกที่เพิ่งเริ่มคลาน เปิดตาและเริ่มแสดงความรักกับมนุษย์ด้วยการหายใจแรง แกว่งหางไปมา และส่งเสียงคราง"
และครึ่งศตวรรษต่อมา สุนัขจิ้งจอกสีเงินกลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่เชื่องกว่าที่เคยเป็นมา
นักวิทยาศาสตร์ ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ได้ โดยการผสมพันธุ์เฉพาะในกลุ่มที่มีลักษณะพฤติกรรมพิเศษเท่านั้น
การทดลองที่สอง ใช้สุนัขจิ้งจอกที่ก้าวร้าวเท่านั้น โดยผสมพันธุ์เพื่อรักษาลักษณะที่ก้าวร้าวไว้
ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเปรียบเทียบการทดลองทั้งสองชุดนี้ได้ พวกเขาค้นพบว่าความแตกต่างทางพฤติกรรมนี้ถูกกำหนดโดยยีน
ดร.ลียุดมิลา ตรุด สถาบันพันธุศาสตร์ ไซบีเรีย – "เราได้ยกระดับการทดลองขึ้นไปอีกขั้น โดยการถ่ายตัวอ่อนจากแม่ที่ก้าวร้าวให้กับแม่ที่เชื่อง แต่ผลที่ได้ยังคงเหมือนเดิม มันพิสูจน์ให้เห็นว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนยีนความก้าวร้าวได้ ...
Please log in to view and download the complete transcript.