บางครั้ง การที่จะเข้าใจว่าร่างกายเราทำงานอย่างไร หรือแพทย์ควรจะรักษาร่างกายเราแบบไหน อาจมาจากสถานที่ที่เราไม่คาดคิด
สิ่งที่เกิดขึ้นกับทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสงครามเวียดนาม ช่วงทศวรรษที่ 1960 แสดงให้เห็นว่า ระบบภูมิคุ้มกันของเราสำคัญเพียงใด
เวียดนาม ปี ค.ศ.1969
.และทำให้แพทย์ต้องกลับมาคิดใหม่ว่าเราควรจะรักษาผู้ป่วยที่มีบาดแผลฉกรรจ์ได้อย่างไร
เลือดของเรา มีระบบซ่อมแซมอัตโนมัติ ที่ทำงานแทบจะทันที เมื่อมีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นกับหลอดเลือด
เกล็ดเลือดคืออนุภาคคล้ายเซลล์ขนาดเล็กในเลือด ที่มีผิวเหนียวหนึบ และช่วยอุดบริเวณที่ได้เกิดบาดแผลได้
โปรตีนในพลาสมาของเลือดจะสร้างเส้นใยไฟบริน เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับรอยอุดนี้ ทำให้เกิดเป็นลิ่มเลือดที่ปิดปากแผลและป้องกันไม่ให้เลือดไหลออก
เกล็ดเลือดเกาะติดอยู่กับหลอดเลือดที่ขาด อุดรอยรั่วเพื่อให้เลือดหยุดไหล เส้นใยไฟบรินปิดปากแผล
การบาดเจ็บในสงครามเวียดนามนั้นน่าสะพรึงกลัว แต่หน่วยแพทย์เดินทางอย่างรวดเร็วด้วยเฮลิคอปเตอร์และเข้าถึงตัวผู้บาดเจ็บในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที
อาการบาดเจ็บสาหัส อาจทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดจำนวนมากและทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างฉับพลัน
ในทศวรรษ 1960 วิธีมาตรฐานที่ใช้ในการรักษาคือความพยายามที่จะให้เลือดทดแทน โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
การถ่ายเลือด จะกระทำก่อนที่จะเคลื่อนย้ายทหารผู้บาดเจ็บออกจากพื้นที่เสียอีก
กระนั้น ทหารจำนวนมากก็ยังเสียชีวิต
ศาสตราจารย์จิม ไรอัน ศัลยแพทย์อุบัติเหตุ – “ในทันทีที่พวกเขาถูกพาขึ้นเฮลิคอปเตอร์ จะมีการถ่ายเลือดทันที ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และเลือดก็จะไหลออกมาอีก ผมว่าธรรมชาติได้สร้างกลไกที่จะช่วยดูแลรักษาพวกเรา กลไกนี้อาจอยู่คู่กับเรามานานนับศตวรรษ ...
Please log in to view and download the complete transcript.