เหยี่ยวเพเรกริน
ผู้ล่ากลางเวหาที่น่าทึ่งนี้คือ เหยี่ยวเพเรกริน
มันเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เร็วที่สุดในโลก พวกมันสามารถทำความเร็วได้สูงกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อพุ่งดิ่งจากท้องฟ้าเพื่อล่าเหยื่อ
นกที่เป็นที่รู้จักดีกันนี้ พบได้ในทุกทวีปบนโลก ยกเว้นแอนตาร์กติกา แต่ในขณะนี้พวกมันกำลังถูกคุกคามจากฆาตกรลึกลับและมองไม่เห็น
นักสัตววิทยาพบว่าประชากรเหยี่ยวเพเรกริน ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของสวีเดนลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
เขตแลปแลนด์ ของสวีเดน
เหยี่ยวบางตัวไม่สามารถจับคู่ผสมพันธุ์ได้ บางตัวที่ได้ผสมพันธุ์กลับวางไข่ที่ไม่มีการปฏิสนธิ และไข่บางฟองมีเปลือกบางมากจนแตก เมื่อถูกกดทับจากน้ำหนักของแม่นกขณะกกไข่
เมื่อตรวจสอบไข่เหล่านั้น พบว่าประกอบด้วยสารเคมีต้านการลุกลามของไฟ ซึ่งเป็นสารมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้นและใช้ในผลิตภัณฑ์นับล้านชนิดทั่วโลก
ประชากรเหยี่ยวเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลของยุโรป แล้วสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้นนี้มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร?
สารเคมีเหล่านี้เรียกว่า มลพิษอินทรีย์ที่ตกค้างยาวนาน ซึ่งหมายความว่าเมื่อถูกปล่อยสู่อากาศโดยโรงงานอุตสาหกรรม สารเคมีเหล่านี้จะยังคงปนเปื้อนต่อไปโดยกระบวนการที่เรียกว่า การสะสมเชิงชีวภาพ
มลพิษอินทรีย์ที่ตกค้างยาวนาน
การสะสมเชิงชีวภาพ เป็นการรวบรวมสารเคมี เช่นสารพิษ ไว้ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมักจะนำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะ การสืบพันธุ์ที่แย่ลง และโรคภัยต่างๆ
การสะสมเชิงชีวภาพ
มลพิษที่อันตรายนี้เข้ามายังห่วงโซ่อาหาร โดยมักจะเริ่มต้นที่ฐาน คือในผู้ผลิตขั้นต้น เช่นพืช แต่สามารถขยับขึ้นไปตามห่วงโซ่อาหารแต่ละขั้น จนถึงผู้ล่าระดับสูงสุดได้
พืชถูกกินโดยแมลง ซึ่งถูกกินโดยสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก ที่ต่อมาก็ตกเป็นเหยื่อของเหยี่ยว
ด้วยรูปแบบนี้ปริมาณสารพิษจึงสะสมเพิ่มขึ้นตามลำดับโซ่อาหาร
และเมื่อระดับของสารเคมีเหล่านี้เพิ่มขึ้นตามกระบวนการสะสมเชิงชีวภาพ ...
Please log in to view and download the complete transcript.