ความสัมพันธ์ระหว่างกำลัง ศักย์ไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า คือสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะแจกจ่ายไฟฟ้าไปตามบ้านของพวกเรา
กำลังไฟฟ้า (P) = กระแสไฟฟ้า (I) x ศักย์ไฟฟ้า (V)
ยิ่งกระแสไฟฟ้าหรือศักย์ไฟฟ้าสูงเท่าไร กำลังไฟฟ้าก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อครั้งที่ไฟฟ้าถูกผลิตเพื่อการค้าครั้งแรกในปลายศตวรรษที่ 19 กระแสเคลื่อนที่เพียงทิศทางเดียว
การเคลื่อนที่แบบนี้ถูกเรียกว่า กระแสตรง หรือเรียกย่อว่า DC
ไฟฟ้ากระแสตรง DC
สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อให้มีกำลังมากขึ้นจำเป็นต้องใช้กระแสที่มากขึ้น
แต่การส่งผ่านกระแสที่สูงผ่านทางสายไฟฟ้า ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานอย่างมาก ไปกับความร้อน ทำให้ไม่สามารถที่จะส่งผ่านกำลังไฟฟ้าไปที่ระยะทางไกลๆ ได้
วิธีแก้ไขที่ชาญฉลาดได้ถูกคิดค้นขึ้น
ไฟฟ้ากระแสสลับ AC
ถ้าการไหลของไฟฟ้าเปลี่ยนทิศทางไปกลับ เราเรียกสิ่งนี้ว่า ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือเรียกย่อว่า AC
ขณะที่เกิดการสลับ ศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
สมบัติเฉพาะตัวของไฟฟ้ากระแสสลับนี้ ทำให้วิศวกรสามารถพัฒนาวิธีการ เพิ่มหรือยกระดับ ศักย์ไฟฟ้าในสายไฟฟ้าได้
ทำให้สามารถลดปริมาณกระแสไฟฟ้าได้ในขณะที่กำลังไฟฟ้ายังคงมีค่าเท่าเดิม ดังนั้นไฟฟ้ากระแสสลับสามารถส่งผ่านไปได้ในระยะไกล โดยมีการสูญเสียกำลังไฟฟ้าปริมาณน้อย
หม้อแปลงไฟฟ้า
ศักย์ไฟฟ้าในสายไฟฟ้าถูกเปลี่ยนโดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้า
...Please log in to view and download the complete transcript.